วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

เคยอ่านหรือยัง เรื่องนิราศอิเหนา โดยท่านสุนทรโวหาร

นิราศอิเหนา

อิเหนา หรือดาหลัง เป็นบทพระราชนิพนธ์และบทพระนิพนธ์ของเจ้านายหลายพระองค์ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ที่มีชื่อเสียงในกระบวนบทละครรำเป็นที่สุด คือบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เนื้อความเกี่ยวกับวงศ์กษัตริย์ชวา ชื่อวงศ์อสัญแดหวา ผู้สืบเชื้อสายมาจากประตาระกาหลา ที่ถือกันว่าเป็นเทพเจ้าสูงสุด เปรียบได้กับเง็กเซียนฮ่องเต้อย่างไรอย่างนั้น อิเหนาเป็นชื่อที่เราเรียกตัวเอกของเรื่อง คือระเด่นมนตรี ผู้เป็นเจ้าชายแห่งเมืองกุเรปัน เมื่อยังเด็กได้หมั้นหมายไว้กับระเด่นบุษบา เจ้าหญิงเมืองดาหา เมื่ออิเหนาเติบโตเป็นหนุ่ม ต้องไปราชกิจต่างเมือง และได้พบกับนางจินตหรา ธิดาของเจ้าระตูบ้านนอก จนได้นางเป็นชายา ความทราบถึงเมืองดาหา ท้าวดาหาโกรธนัก จึงยกนางบุษบาให้แก่ระตูจรกา ผู้รูปชั่วตัวดำแต่มีใจมั่นคงสัตย์ซื่อ ครั้นมาภายหลัง อิเหนาได้พบกับบุษบา และเกิดหลงรักนางจนสุดชีวิตจิตใจ นึกเสียดายที่ตนต้องเสียคู่หมั้นแสนสวยให้แก่ระตูรูปชั่ว อิเหนาจึงลักพาตัวนางบุษบามาไว้ยังถ้ำทอง

นิราศเรื่องนี้ ท่านสุนทรภู่จับความจากตอนที่อิเหนากลับจากไปแก้สงสัยที่เมืองดาหา แล้วกลับมาก็พบว่า บุษบาถูกลมพาย ุหอบพัดเอาตัวนางหายไปจากถ้ำทองเสียแล้ว อิเหนาจึงยกทัพออกติดตาม ระหว่างทางก็รำพันคร่ำครวญถึงนางผู้เป็นที่รักอยู่มิได้ขาด อิเหนาเดินทางติดตามอยู่เป็นเวลาถึงเจ็ดเดือน ก็ยังไม่พบ เนื้อเรื่องจบลงที่อิเหนาและไพร่พลออกบวช เพื่อส่งกุศลให้บุษบาที่อิเหนาคิดว่าคงตายไปแล้ว

ไม่ปรากฏว่าท่านสุนทรภู่แต่งนิราศเรื่องนี้ไว้เมื่อใด แต่คงจะแต่งถวายเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งเป็นแน่ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานจากสำนวนกลอนว่า สุนทรภู่น่าจะแต่งเรื่องนี้ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ถวายพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ เมื่อครั้งสุนทรภู่ได้อาศัยพึ่งพระบารมีอยู่

๏ นิราศร้างห่างเหเสน่หา

ปางอิเหนาเศร้าสุดถึงบุษบา
พระพายพาพัดน้องเที่ยวล่องลอย

ตะลึงเหลียวเปลี่ยวเปล่าให้เหงาหงิม
สุชลปริ่มเปี่ยมเหยาะเผาะเผาะผอย

โอ้เย็นค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย
น้องจะลอยลมบนไปหนใด

หรือเทวัญชั้นฟ้ามาพาน้อง
ไปไว้ห้องช่องสวรรค์ที่ชั้นไหน

แม้นน้องน้อยลอยถึงชั้นตรึงส์ตรัย
สหัสนัยน์จะช่วยรับประคับประคอง

หรือไปปะพระอาทิตย์พิศวาส
ไปร่วมอาสน์เวชยันต์ผันผยอง

หรือเมขลาพาชวนนวลละออง
เที่ยวลอยล่องเลียบฟ้าชมสาคร

หรือไปริมหิมพานต์ชานไกรลาส
บริเวณเมรุมาศราชสิงขร

โอ้ลมแดงแสงแดดจะแผดส่อง
จะมัวหมองมิ่งขวัญจะหวั่นไหว

จะดั้นหมอกออกเมฆวิเวกใจ
นี่เวรใดเด็ดสวาทให้คลาดคลาฯ




๏ พระผันแปรแลรอบขอบทวีป
เห็นแต่กลีบเมฆเคลื่อนเกลื่อนเวหา

จะแลดูสุริยนก็สนธยา
จะดูฟ้าฟ้าคล้ำให้รำจวน

ฝืนวิโยคโศกเศร้าเข้าในห้อง
เห็นแท่นทองที่ประทมภิรมย์สงวน

ไม่เห็นนุชสุดจะทรงพระองค์ซวน
ละห้อยหวนหิวโหยด้วยโรยแรง

ยลยี่ภู่ปูเปล่าเศร้าสลด
ระทวยทดทอดทบซบกันแสง

โอ้สุดแสนแค้นอารมณ์ด้วยลมแดง
ดูเหมือนแกล้งพัดไปให้ไกลทรวง

เสียดายเอ๋ยเคยแอบแนบสนิท
ถึงชีวิตวอดวายไม่หายห่วง

โอ้น้องนุชบุษบาสุดาดวง
พี่เปล่าทรวงทรวงดังจะพังโทรมฯ




๏ โอ้โพล้เพล้เวลาปานฉะนี้
เคยเข้าที่พี่เคยได้เชยโฉม

เห็นแต่ห้องน้องน้อยลอยโพยม
ยามประโลมมิรู้ลืมเจ้าปลื้มใจ

โอ้เขนยเคยหนุนยังอุ่นอ่อน
แต่น้องน้อยลอยร่อนไปนอนไหน

ยี่ภู่เอ๋ยเคยชิดสนิทใน
วันนี้ไกลกลอยสวาทอนาถนอน

โอ้รินรินกลิ่นนวลยังหวนหอม
เคยถนอมแนบทรวงดวงสมร

ยังรื่นรื่นชื่นใจอาลัยวอน
สะอื้นอ้อนอ่อนอารมณ์ระทมทวี

จนฆ้องค่ำย่ำหึ่งหึ่งกระหึม
ยิ่งเศร้าซึมโศกาถึงยาหยี

โอ้ยามอยู่คูหาเวลานี้
เคยพาทีทอดประทับไว้กับทรวงฯ




๏ โอ้อกเอ๋ยเคยอุ่นละมุนละม่อม
เคยโอบอ้อมอ่อนตามไม่ห้ามหวง

ยังเคลิ้มเคล้นเช่นปทุมกระพุ่มพวง
เคยแนบทรวงไสยาสน์ไม่คลาดคลาย

จนเคลิ้มองค์หลงเชยเขนยหนุน
ถนอมอุ่นแอบประโลมว่าโฉมฉาย

ครั้นรู้สึกดึกดื่นสะอื้นอาย
แสนเสียดายสุดจะดิ้นสิ้นชีวัน

เห็นสิ่งของน้องนุชยิ่งสุดเศร้า
พระทัยเฝ้าเคลิ้มไคล้ดังใฝ่ฝัน

ยิ่งรำลึกตรึกตรายิ่งจาบัลย์
สุดจะกลั้นรีบออกนอกบรรพตฯ




๏ พินิจจันทร์วันเพ็งขึ้นเปล่งแสง
กระจ่างแจ้งแจ่มวงทั้งทรงกลด

สี่พี่เลี้ยงเคียงพร้อมน้อมประณต
พระเลี้ยวลดแลแสวงดูแสงเดือน

ดูเก๋งก่อต่อเตาเห็นเงาคล้าย
เขม้นหมายมุ่งไปก็ไม่เหมือน

เห็นเงาไม้ไหวหวั่นให้ฟั่นเฟือน
จนเดือนเคลื่อนคล้อยฟ้าให้อาวรณ์

เห็นสระศรีที่เคยมาประพาส
ระดะดาษดอกดวงบัวหลวงสลอน

ลมรำเพยเชยชายกระจายจร
หอมเกสรเสาวคนธ์ที่หล่นโรยฯ




๏ โอ้รินรินกลิ่นบุหงาสะตาหมัน
เหมือนกลิ่นจันทน์เจือนวลให้หวนโหย

หอมยี่หุบสุกรมดอกยมโดย
พระพายโชยเฉื่อยชื่นยืนตะลึง

โอ้ที่นี่ศีลาเคยมานั่ง
เห็นบัลลังก์แล้วยิ่งนึกรำลึกถึง

ดูเงื้อมเขาเงาไม้พระไทรซึ้ง
เสียงหึ่งหึ่งผึ้งรวงเฝ้าหวงรัง

จังหรีดหริ่งกิ่งไทรเรไรร้อง
แว่วว่าน้องนึกเสียวพระเหลียวหลัง

เห็นน้ำพุดุดั้นตรงบัลลังก์
เคยมานั่งสรงชลที่บนเตียง

เจ้าสรงด้วยช่วยพี่สีขนอง
แต่น้ำต้องถูกนิดก็หวีดเสียง

โอ้รื่นรื่นชื่นเชยที่เคยเคียง
พระทรวงเพียงเผ่าร้อนถอนฤทัย

ทุกเงื้อมเขาเหงาเงียบเซียบสงัด
ใบไม้กวัดแกว่งกิ่งประวิงไหว

ยะเยือกเย็นเส้นหญ้าพนาลัย
ยิ่งเยือกในทรวงช้ำระยำเย็น

เที่ยวรอบสระปทุมาสะตาหมัน
เคยเห็นขวัญเนตรที่ไหนก็ไม่เห็น

ชลนัยน์ไหลซกตกกระเซ็น
ยิ่งเยือกเย็นหยุดยืนกลืนน้ำตา

จนดึกดื่นรื่นรินกลิ่นกุหลาบ
ตะลึงเหลียวเสียวซาบอาบนาสา

เหมือนปรางทองน้องนุชบุษบา
หรือกลับมายืนแฝงอยู่แห่งใด

เที่ยวดูดาวเปล่าเปลี่ยวเสียวสะดุ้ง
จนจวนรุ่งรางรางสว่างไสว

หนาวน้ำค้างพร่างพรมพนมไพร
ดวงดอกไม้บานแบ่งรับแสงทอง

หอมมณฑาสารภีดอกยี่หุบ
บ้างร่วงหรุบถูกอุระพระขนอง

ภุมรินบินว่อนมาร่อนร้อง
อาบละอองเกสรขจรจายฯ




๏ จนแจ่มแจ้งแสงสว่างนภางค์พื้น
ถอนสะอื้นอาลัยพระทัยหาย

ดูเวหาว่าแสนแค้นพระพาย
ไม่พาสายสวาทคืนมาชื่นใจ

จำจะตามทรามชมทางลมพัด
เผื่อจะพลัดตกลงที่ตรงไหน

ดำริพลางทางสะท้อนถอนฤทัย
ให้เตรียมพลสกลไกรจะไคลคลา

จึงแปลงนามตามกันเป็นปันจุเหร็จ
จะเที่ยวเตร็ดเตร่ในไพรพฤกษา

พลางอุ้มองค์ยาหยีวิยะดา
ขึ้นรถแก้วแววฟ้าแล้วพาไปฯ




๏ พระเหลียวดูภูผาสะตาหมัน
ที่สำคัญคูหาเคยอาศัย

จะแลลับนับปีแต่นี้ไป
จะมิได้มาเห็นเหมือนเช่นเคย

เสียแรงแต่งแปลงสร้างจะร้างเริด
ค่อยอยู่เถิดแผ่นผาคูหาเอ๋ย

โอ้มิ่งไม้ไพรพนมเคยชมเชย
จะแลเลยลับแล้วทุกแนวเนินฯ

ที่มา ไทยทัวร์ดอทคอม

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

ตำนานพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ (ตอนจบ)



ในกัปป์นี้ได้ชื่อว่าภัทรกัปเป็นกัปที่เจริญที่สุดเพราะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกนี้ถึง๕ พระองค์
มีพระนามตามที่กล่าวมาแล้วนั้นทั้ง ๕ พระองค์ จึงเป็นที่มาของคำว่า “ นโมพุทธายะ”

ในกัปป์นี้ได้ชื่อว่าภัทรกัปเป็นกัปที่เจริญที่สุดเพราะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกนี้ถึง๕ พระองค์
มีพระนามตามที่กล่าวมาแล้วนั้นทั้ง ๕ พระองค์ จึงเป็นที่มาของคำว่า “ นโมพุทธายะ” นะ คือ พระกกุสันโธ
โม คือ พระโกนาคมโน
พุทธ คือ พระกัสสะโป
ธา คือ พระโคตโม
ยะ คือ พระศรีอริยเมตไตยโย

จนเป็นคาถาสืบต่อกันมาเป็นพุทธบูชาแก่พระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทั้ง ๕ พระองค์ เมื่อออกบวชเป็นฤาษีได้บำเพ็ญเพียรพระกัมมัฏฐาน
จนสำเร็จญาณ อภิญญาสมบัติ จึงสามารถเหาะไปหาอาหาร ผลไม้ด้วยฤทธิ์ทุกพระองค
์ อยู่มาวันหนึ่งได้เหาะไปหาอาหารผลไม้ และ บำเพ็ญเพียรธรรมที่ป่าดอยสิงกุตตระ
ณ ใต้ต้นนิโครธอันร่มเย็นด้วยกิ่งไม้สาขาใหญ่ด้วยเหตุปัจจัยในกุศลบารมีธรรม ฤาทั้ง ๕
ได้มาพบกัน ณ ที่ นี้ โดยไม่ได้นัดหมาย รู้จักกันมาก่อน จึงสอบถามความเป็นมาของกันและกัน
จึงได้รู้แต่ว่า แต่ละองค์มีแต่แม่เลี้ยง แม่ที่แท้จริวอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ ฤาษีทั้ง ๕ จึงได้ร่วมกันตั้ง
สัจจะอธิฐาน ขอให้ได้พบแม่บังเกิดเกล้าที่แท้จริง ด้วยอำนาจสัจจะอธิฐาน ธรรมอันบริสุทธิ์ของ
ฤาษีทั้ง ๕ จึงดังก้องไปถึงพรหมโลกเป็นเหตุให้ท้าวฆติกามหาพรหมซึ่งเป็นแม่กาเผือกตาย
และได้มาเกิดเป็นพรหม ทราบเหตุการณ์ทั้งหมด จึงจำแลงเพศเป็นแม่กาเผือกขนสวยงาม
ยิ่งนัก มาปรากฏอยู่ข้างหน้าฤาษีทั้ง ๕ ฝ่าย ฤาษีทั้ง ๕ ก็รู้ด้วยญาณ ทัศนะทันทีว่า นี่แหละ
เป็นแม่บังเกิดเกล้าที่แท้จริง จึงสอบถามแม่กาเผือกถึงความเป็นมาตั้งแต่ต้นว่า เรื่องเป็นมาอย่างไร
แม่กาเผือกจึงเล่าความเป็นมาแต่หนหลังครั้งทำรังอยู่ต้นมะเดื่อฝั่งแม่น้ำคงคา อยู่มาวันหนึ่ง
ได้ออกมาหาอาหารกินถิ่นแดนไกลถึงสถานที่ที่หนึ่ง ซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธ์ธัญญาหาร
เป็นธรรมชาติอันสวยงามสงบร่มเย็น บังเกิดพายุใหญ่ ได้พัดกิ่งไม้ฝนตกฟ้าคะนอง
จนมือค่ำจึงหลงทางอยู่หาทางออกไม่ถูก จนกระทั่งอรุณรุ่งวันใหม่ฝนฟ้าพายุสงบลง
จึงรีบบินกลับมาที่พักมาหาลูกที่รังด้วยความเป็นห่วง แต่ปรากฎว่าคืนที่ผ่านมาฝนตกหนัก
พายุใหญ่ได้พัดกิ่งไม้มะเดื่อหักทำให้รังไข่ทั้ง ๕ ลูกแม่กาเผือกตกลงไปในน้ำและได้ถูกน้ำพัด
ไหลไปในที่ต่างๆ หาเท่าไหร่ก็ไม่พบจนหมดความสามารถ ในที่สุดด้วยความรักความอาลัย
อันบริสุทธิ์ที่มีต่อลูกก็สิ้นใจตาย ได้เกิดเป็นพระพรหมแดนพรหมโลกชั้นสุธาวาส
มีวิมารทองคำเป็นที่อยู่ ด้วยอานิสงส์ความรักอันเมตตาอันบริสุทธิ์กับทั้งลูกเป็นพระโพธิญาณ
มีบุญญาธิมาก จึงได้เกิดมาเป็นพรหมและได้จำแลงเพศเป็นแม่กาเผือกให้ลูกฤาษีทั้ง ๕
ได้ทราบถึงความเป็นมาทั้งหมด

เมื่อลูกฤาษีได้ทราบเหตุ เช่นนั้นแล้้วก็รู้สึกสลดสังเวชใจเป็นอย่างยิ่งและสำนึก
ในบุญสร้างคุณอันใหญ่หลวง ของแม่กาเผือก จึงน้อมกราบนมัสการ ฆติกามหาพรหม
ผู้เป็นแม่ที่ให้กำเนิดชีวิตลูกได้สร้างบุญบารมีพระโพธิญาณ จึงกราบขอสัญลักษณ์อนุสรณ์
ของแม่กาเผือกผู้บังเกิดเกล้าอาไว้บูชา พระแม่กาเผือกจึงประทานผ้าฝ้ายเป็นด้ายฟั่น เป็นตีนกา
สัญญาลักษณ์อนุสรณ์ของแม่กาเผือก ประทานให้ลูกฤาษีทั้ง 5 ไว้ใช้เป็นไส้ประทีปจุดบูชาทุก
วันพระ และต่อมาเป็นประเพณีจุดประทีปตีนกาบูชาแม่กาเผือก ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
ลอยกระทง เป็นตำนานสืบไว้ในโลกาตลอดกาลนาน เมื่อแม่กาเผือกฆติกามหาพรหมประทาน
สัญลักษณ์ ไว้ให้ลูกฤาษีโพธิสัตว์ทั้ง 5 แล้วก็อาลูกกลับเทวสถาน วิมานของตนบนพรหมโลก
ตามเดิม

ฤาษีโพธิสัตว์ทั้ง 5 ต่างก็พากันตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรรักษาศีลธรรมภาวนามิได้ขาด
ทุกวันพระก็จุดประทีบตีนกาบูชา พระแม่กาเผือกฆติกามหาพรหมผู้เป็นแม่อยู่เสมอ เป็นเวลา
นานหลายปีชีวีฤาษีทั้ง 5 ก็ดับขันธ์ได้ไปเกิดบนเทวโลกชั้นดุสิตพิภพอันเป็นที่อยู่ขององค์เทพ
พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ได้เสวยทิพยสมบัติอยู่ในที่นั้น และในกาลต่อมาก็วนเวียนบำเพ็ญบารมี
ีทุกภพชาติที่กำเนิดเกิดในสังสารวัฏฏ์นี้ จนบารมีเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ทั้ง 30 ทัศแล้ว ก็จะได้ตรัสรู้
เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ไหนจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ฆติกามหาพรหมผู้เป็นแม
่ ต้นกัปโลกาก็จะนำเอาบริขารคือ บาตรไตรจีวร มาถวายลูกโพธิสัตว์ทั้ง 5 พระองค์ในชาติสุดท้าย
ที่จะได้เป็น พระพุทธเจ้าโปรดโลกทุกพระองค์ กาลเวลาอันยาวนานผ่านไปจนถึงปัจจุบันนี้
พระโพธิสัตว์ลูกแม่กาเผือกต้นปฐมกัปป์ก็ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า โปรดโลกไปแล้วถึง 5 พระองค์
์ ตามลำดับดังนี้คือ

1. พระกกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอายุ 4 หมื่นปี มีเขมวตีนคร ของพระเจ้าเขมะเป็นราชธานี
2. พระโกนาคมโนสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอายุ 3 หมื่นปี มีโสภวตีนครของพระเจ้าโสภะเป็นราชธานี
3. พระกัสสโปสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอายุ 2 หมื่นปี มีพาราณสีนครของพระเจ้ากิงกิเป็นราชธานี
4. พระโคตโมสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอายุ 80 ปี มีกบิลพัสดุ์นครของพระเจ้า สุทโธทนะเป็น ราชธานี

ส่วนพระโพธิสัตว์องค์ที่ 5 อันเป็นลูกองค์สุดท้ายของแม่กาเผือกคือ พระศรีอริยเมตไตรย
์ จักเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 ในภัททกัปนี้จะมีอายุถึง 8 หมื่นปี ในยุคของพระศรีอริยเมตไตรย์นั้น
สภาพสังคมมนุษย์โลกจะอุดมสมบูรณ์พูนสุขมาก เพราะผู้คนมีศีลธรรมอยู่ด้วยกันได้เมตตาธรรม
มีศีล 5 บริสุทธิ์ ทุกคน จึงมีทรัพย์สมบัติมาก มีอายุ ยืนยาว ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มีรูปร่างสวยสดงดงาม
หน้าตาผ่องใสเบิกบานด้วยกันหมด เพราะผู้คนในยุคนั้นได้สร้างบุญบารมี ให้ทาน รักษาศีล ภาวนา
กันมาสมบูรณ์ดีหมดและเพราะพระบารมีของพระพุทธเจ้าศรีอริยเมตไตรยที่สั่งสมบารมี ีเพื่อ ความ
สันติสุขของโลกซึ่งมีพระเจ้าสังขจักรพรรดิทรงปกครองบ้านเมืองโดยชอบธรรมในเมืองเกตุมวดีนคร
แผ่ธรรมจักรพรรดิให้คนรักษาศีล 5 ทั้งโลก เมื่อพระศรีอริยเมตไตรยได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
ผู้คนจึงได้ฟังพระธรรมจักรได้ดื่มรส อมตธรรมแห่งพระศรีอริยเมตไตรย์ ได้บรรลุเข้าถึงสวรรค
์นิพพานโดยแท้ ผู้คนในยุคนั้นจึงโชคดีที่สุดที่เกิดมาเพื่อสันติสุข เข้าถึง ศีลธรรมอันดีงามทั้งหมด

ขอให้ทุกคนจงพากเพียร ให้ทาน รักษาศีล ภาวนา จะได้ไปเกิดในพระศาสนาพระศรีอาริย์
หากเข้าสู่นิพพานยุคนี้ยังไม่ได้ ท่านก็ยังมีโอกาสได้พบพระพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่งอย่างแน่นอน
คือพระศรีอริยเมตไตรย์ลูกแม่กาเผือกองค์สุดท้าย การเกิดมาพบพระพุทธศาสนาเป็นของหายาก
การเกิดมาพบพระพุทธเจ้าก็แสนยาก บางครั้งโลกนี้ว่าง จากพระพุทธเจ้าเป็นล้านปีสัตว์โลกไม่ม
ีโอกาสเห็น หนทางพระนิพพานเลย ขอให้พวกเราอย่าได้ประมาท จงหมั่นขยันสร้างบุญบารมี
ด้วยการให้ทาน รักษาศีล ภาวนา ทำนุบำรุง รักษาพระพุทธศาสนา ก็จะเข้าถึงศีลธรรม สันติสุข
ได้ทุกคนและได้ร่วมสายบุญบารมีพระพุทธเจ้า 5 พระองค์

พระอาจารย์ธรรมสาธิต เวียงกาหลง
ที่มา http://www.checkduang.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=10&Category=checkduangcom&thispage=1&No=497846

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

ใกล้ถึงเวลาแล้วตำนานพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ (ตอนที่ ๑)



ผมมีเรื่องมาเล่าให้ท่านลองอ่านดูสักนิด ผมได้รับฟังมาตอนที่ผมบวชในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ก็เลยลองหาประวัติพระพุทธสักเรื่องประดับความรู้ เรื่องนี้บางทีอาจจะทำให้ใครหลายคนปลงกับโลกใบนี้ ก็แค่เรื่องเล่าทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น ศาสนาอื่นไม่อาจทราบได้ว่าจะมีเรื่องเล่าทางศาสนาเหมือนพุทธประวัติของเรามั้ย เริ่มเลยละกันนะครับ เรื่องเล่า "กำเนิดพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์"
เรื่องมีอยู่ว่าในแม่น้ำสายหนึ่งทางตอนเหนือของประเทศศรีลังกา มีต้นมะเดื่อยักษ์อยู่ริมฝั่งของแม่น้ำบนยอดของต้นมะเดื่อนี้ยังมีรังนกซึ่งเป็นรังของกาเผือสองตัวผัวเมียที่เฝ้าประคบประหงมใข่ของมันทั้งห้าใบด้วยความรักและอีกไม่นานในรังแห่งนี้จะมีชีวิตใหม่เกิดมาดูโลกอีกห้าตัว
ในเข้าของวันที่สดใสกาเผือกสองตัวได้ออกไปหาอาหารเพื่อกักตุนไว้สำหรับชีวิตน้อยที่จะเกิดมาในอีกเร็ววัน ในขณะที่ทั้งสองตัวกำลังหาอาหารอยู่นั้นสิ่งไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นเมื่อจู่ ๆ ก็มีลมพายุพัดกระหน่ำอย่างรุนแรง ฝนฟ้าเทลงมาอย่างไม่ลืมหูลืมตา กาเผือกสองตัวบินกลับไม่ได้เฝ้ามองไปยังต้นมะเดื่อที่เห็นอยู่ไกล ลมพัดเอนไปเอนกาเผือกสองตัวเฝ้าภาวนาให้ลูกน้อยที่จะเกิดมาปลอดภัย แต่ยังไม่สิ้นภาวนาแม่กาเผือกต้องน้ำตาไหลเมื่อต้นมะเดื่อหักโค้นลงไปต่อหน้าต่อตาพ่อกาเผือกรีบบันฝ่าสายฝนลมพายุแต่ด้านแรงลมไม่ไหวถูกพัดหายไป เมื่อลมพายุสงบลงแม่กาได้แต่เสียที่คู่รักต้องมาจากไปต่อหน้า และรีบบินมาที่ต้นมะเดื่อแม่กาเผือกต้องใจสลายเมื่อไข่ทั้งห้าใบหายไปไหนไม่รู้แม่กาเผือกออกตามหา ไม่หลับ ไม่นอน ไม่กิน คงสิ้นหวังแน่แล้ว แม่กาเผือกมาครุ่นคิดที่เสียทั้งคู่รักและลูกน้อยไปจะทำยังต่อไปดีสุ่ท้ายแม่กาเผือกก็ตรอมใจตายและได้พบเจอคู่รักบนสวรรค์
ฟ้าหลังฝนย่อมสดใสเสมอไข่ของแม่กาเผือกได้ถูกพายุพัดกระจัดกระจายไป จนได้มีสัตว์ต่าง ๆ มาพบเจอ แต่ด้วยสัตว์เหล่านั้นมองเห็นไข่แล้วก็ดันเกิดความรักความสงสารโดยที่ไม่เข้าใจในสันชาตญานตัวของมันเอง จึงเก็บใข่นั้นไปดูอย่างดี โดยมีดังนี้ ใข่ใบที่ ๑ แม่ไก่ได้นำมาฟูมฟักดุจดังลูกในอกที่ตัวเองเบ่งออกมา ใบที่ ๒ นากน้อยผู้ไม่รู้จักว่าตัวเองจะออกไข่เป็นตัวหรือไข่ก็ได้เฝ้ารักหวงห่วงไข่ใบนี้ด้วยหวังจะเป็นเพื่อนในยามเหงา ใบที่ ๓ เต่าที่หลงคิดว่าไข่ตัวเองได้ถูกน้ำพัดเอามาริมน้ำจึงนำกลับไปดูแลอย่างดี ใบที่ ๔ แม่วัวจิตใจดีเกิดความรักต่อใข่ที่พบในริมน้ำจึงนำกลับมาเลื้ยง เมื่อกลับราชสีห์ผู้เป้นเจ้าป่าก็ได้ใข่ใบที่ ๕ มาดูแลด้วยความรักเมตตา เช่นกัน
วันเวลาผ่านครั้งในกาลเวลาต่อมา พระโพธิสัตว์ ทั้ง ๕ ก็ประสูติออกจากไข่ทั้ง ๕ ปรากฏเป็นมนุษย์
์รูปร่างสวยสดงดงาม ทั้ง ๕ พระองค์ ในเวลาเดียวกันตามลำดับของแม่เลี้ยงทั้ง ๕ ที่นำไข่ไปเก็บ
ดูแลรักษา พระโพธิสัตว์ทั้ง ๕ ได้เจริญเติบโตอยู่กับแม่เลี้ยงดัวยความกตัญญู จึงรู้ทำหน้าที่
ี่ทุกอย่างทดแทนบุญคุณแม่เลี้ยงเป็นอย่างดีจนถึงอายุได้ ๑๒ ปี ด้วยบุญกุศลเก่าหนุนส่ง ก็มีจิตคิด
ที่จะออกบวชเนกขัมบารมี เป็นฤาษีอยู่ในป่าจึงได้อำลาแม่เลี้ยงของตนเหมือนกันทั่ง ๕ พระองค์
ฝ่ายแม่เลี้ยงถึงจะมีความรักความอาลัยในลูกสักเพียงใด แต่ก็ไม่ขัดความประสงค์์เจตนาที่เป็น
บุญกุศลอันยิ่งใหญ่ของลูกจึงได้ อนุญาตให้ลูกไปบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญบารมีอยู่ในป่าด้วยความ
อนุโมทนา ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ของพระโพธิ สัตว์ทั้ง ๕ พระองค์ ที่มุ่งมั่นจะบำเพ็ญบานมี
พระโพธิญาณ เพื่อเป็นพระพุทธเจ้าโปรดสัตว์โลก ให้พ้นจากกองทุกข์ภัยในวัฏฏะสงสาร
แม่เลี้ยง ทั้ง ๕ เห็นปณิธาน อย่างนั้นจึงฝากนามของแม่เลี้ยง ไว้กับลูกเพื่อเป็นอนุสรณ์
ตำนานไว้แก่โลกต่อไปในภาคหน้าเมื่อลูกได้ตรัสรู้เป็นพุทธเจ้าโปรดโลกแล้วตามลำดับ
พระนามดังนี้
1. องค์ที่ ๑ มีพระนามว่า พระกกุสันโธ เพราะตามนามแม่เลี้ยงที่เป็นไก่
2. องค์ที่ ๒ มีพระนามว่า พระโกนาคมโน เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นนาค
3. องค์ที่ ๓ มีพระนามว่า พระกัสสโป เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นเต่า
4. องค์ที่ ๔ มีพระนามว่า พระโคตโม เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นโค
5. องค์ที่ ๕ มีพระนามว่า พระศรีอริยเมตไตรโย เพราะตามนามแม่เลี้ยงที่ เป็นราชสีห์
ในกัปป์นี้ได้ชื่อว่าภัทรกัปเป็นกัปที่เจริญที่สุดเพราะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกนี้ถึง๕ พระองค์
มีพระนามตามที่กล่าวมาแล้วนั้นทั้ง ๕ พระองค์ จึงเป็นที่มาของคำว่า “ นโมพุทธายะ”

ในกัปป์นี้ได้ชื่อว่าภัทรกัปเป็นกัปที่เจริญที่สุดเพราะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกนี้ถึง๕ พระองค์
มีพระนามตามที่กล่าวมาแล้วนั้นทั้ง ๕ พระองค์ จึงเป็นที่มาของคำว่า “ นโมพุทธายะ” นะ คือ พระกกุสันโธ
โม คือ พระโกนาคมโน
พุทธ คือ พระกัสสะโป
ธา คือ พระโคตโม
ยะ คือ พระศรีอริยเมตไตยโย

จนเป็นคาถาสืบต่อกันมาเป็นพุทธบูชาแก่พระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทั้ง ๕ พระองค์ เมื่อออกบวชเป็นฤาษีได้บำเพ็ญเพียรพระกัมมัฏฐาน
จนสำเร็จญาณ อภิญญาสมบัติ จึงสามารถเหาะไปหาอาหาร ผลไม้ด้วยฤทธิ์ทุกพระองค
์ อยู่มาวันหนึ่งได้เหาะไปหาอาหารผลไม้ และ บำเพ็ญเพียรธรรมที่ป่าดอยสิงกุตตระ
ณ ใต้ต้นนิโครธอันร่มเย็นด้วยกิ่งไม้สาขาใหญ่ด้วยเหตุปัจจัยในกุศลบารมีธรรม ฤาทั้ง ๕
ได้มาพบกัน ณ ที่ นี้ โดยไม่ได้นัดหมาย รู้จักกันมาก่อน จึงสอบถามความเป็นมาของกันและกัน
จึงได้รู้แต่ว่า แต่ละองค์มีแต่แม่เลี้ยง แม่ที่แท้จริวอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ ฤาษีทั้ง ๕ จึงได้ร่วมกันตั้ง
สัจจะอธิฐาน ขอให้ได้พบแม่บังเกิดเกล้าที่แท้จริง ด้วยอำนาจสัจจะอธิฐาน ธรรมอันบริสุทธิ์ของ
ฤาษีทั้ง ๕ จึงดังก้องไปถึงพรหมโลกเป็นเหตุให้ท้าวฆติกามหาพรหมซึ่งเป็นแม่กาเผือกตาย
และได้มาเกิดเป็นพรหม ทราบเหตุการณ์ทั้งหมด จึงจำแลงเพศเป็นแม่กาเผือกขนสวยงาม
ยิ่งนัก มาปรากฏอยู่ข้างหน้าฤาษีทั้ง ๕ ฝ่าย ฤาษีทั้ง ๕ ก็รู้ด้วยญาณ ทัศนะทันทีว่า นี่แหละ
เป็นแม่บังเกิดเกล้าที่แท้จริง จึงสอบถามแม่กาเผือกถึงความเป็นมาตั้งแต่ต้นว่า เรื่องเป็นมาอย่างไร
แม่กาเผือกจึงเล่าความเป็นมาแต่หนหลังครั้งทำรังอยู่ต้นมะเดื่อฝั่งแม่น้ำคงคา อยู่มาวันหนึ่ง
ได้ออกมาหาอาหารกินถิ่นแดนไกลถึงสถานที่ที่หนึ่ง ซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธ์ธัญญาหาร
เป็นธรรมชาติอันสวยงามสงบร่มเย็น บังเกิดพายุใหญ่ ได้พัดกิ่งไม้ฝนตกฟ้าคะนอง
จนมือค่ำจึงหลงทางอยู่หาทางออกไม่ถูก จนกระทั่งอรุณรุ่งวันใหม่ฝนฟ้าพายุสงบลง
จึงรีบบินกลับมาที่พักมาหาลูกที่รังด้วยความเป็นห่วง แต่ปรากฎว่าคืนที่ผ่านมาฝนตกหนัก
พายุใหญ่ได้พัดกิ่งไม้มะเดื่อหักทำให้รังไข่ทั้ง ๕ ลูกแม่กาเผือกตกลงไปในน้ำและได้ถูกน้ำพัด
ไหลไปในที่ต่างๆ หาเท่าไหร่ก็ไม่พบจนหมดความสามารถ ในที่สุดด้วยความรักความอาลัย
อันบริสุทธิ์ที่มีต่อลูกก็สิ้นใจตาย ได้เกิดเป็นพระพรหมแดนพรหมโลกชั้นสุธาวาส
มีวิมารทองคำเป็นที่อยู่ ด้วยอานิสงส์ความรักอันเมตตาอันบริสุทธิ์กับทั้งลูกเป็นพระโพธิญาณ
มีบุญญาธิมาก จึงได้เกิดมาเป็นพรหมและได้จำแลงเพศเป็นแม่กาเผือกให้ลูกฤาษีทั้ง ๕
ได้ทราบถึงความเป็นมาทั้งหมด

เมื่อลูกฤาษีได้ทราบเหตุ เช่นนั้นแล้้วก็รู้สึกสลดสังเวชใจเป็นอย่างยิ่งและสำนึก
ในบุญสร้างคุณอันใหญ่หลวง ของแม่กาเผือก จึงน้อมกราบนมัสการ ฆติกามหาพรหม
ผู้เป็นแม่ที่ให้กำเนิดชีวิตลูกได้สร้างบุญบารมีพระโพธิญาณ จึงกราบขอสัญลักษณ์อนุสรณ์
ของแม่กาเผือกผู้บังเกิดเกล้าอาไว้บูชา พระแม่กาเผือกจึงประทานผ้าฝ้ายเป็นด้ายฟั่น เป็นตีนกา
สัญญาลักษณ์อนุสรณ์ของแม่กาเผือก ประทานให้ลูกฤาษีทั้ง 5 ไว้ใช้เป็นไส้ประทีปจุดบูชาทุก
วันพระ และต่อมาเป็นประเพณีจุดประทีปตีนกาบูชาแม่กาเผือก ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
ลอยกระทง เป็นตำนานสืบไว้ในโลกาตลอดกาลนาน เมื่อแม่กาเผือกฆติกามหาพรหมประทาน
สัญลักษณ์ ไว้ให้ลูกฤาษีโพธิสัตว์ทั้ง 5 แล้วก็อาลูกกลับเทวสถาน วิมานของตนบนพรหมโลก
ตามเดิม

ฤาษีโพธิสัตว์ทั้ง 5 ต่างก็พากันตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรรักษาศีลธรรมภาวนามิได้ขาด
ทุกวันพระก็จุดประทีบตีนกาบูชา พระแม่กาเผือกฆติกามหาพรหมผู้เป็นแม่อยู่เสมอ เป็นเวลา
นานหลายปีชีวีฤาษีทั้ง 5 ก็ดับขันธ์ได้ไปเกิดบนเทวโลกชั้นดุสิตพิภพอันเป็นที่อยู่ขององค์เทพ
พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ได้เสวยทิพยสมบัติอยู่ในที่นั้น และในกาลต่อมาก็วนเวียนบำเพ็ญบารมี
ีทุกภพชาติที่กำเนิดเกิดในสังสารวัฏฏ์นี้ จนบารมีเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ทั้ง 30 ทัศแล้ว ก็จะได้ตรัสรู้
เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ไหนจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ฆติกามหาพรหมผู้เป็นแม
่ ต้นกัปโลกาก็จะนำเอาบริขารคือ บาตรไตรจีวร มาถวายลูกโพธิสัตว์ทั้ง 5 พระองค์ในชาติสุดท้าย
ที่จะได้เป็น พระพุทธเจ้าโปรดโลกทุกพระองค์ กาลเวลาอันยาวนานผ่านไปจนถึงปัจจุบันนี้



ผ่านเดือน ผ่านปี หลายปี ยังไม่มีผู้ใดสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า จนทั้งห้าแก่ชราและถึงแก่ความตายในที่สุด แล้วได้เป็นพระพุทธเจ้าตอนไหนอ่ะ.......
( รออ่านตอนที่ ๒ ) โดย ภูธนาพัฒน์

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การสร้างภาพลายน้ำโดย photoshop cs

การสร้างตัวอักษรลายน้ำด้วยโปรแกรม Photoshop สามารถทำได้โดยพึ่งฟิลเตอร์แบบต่างๆ ที่มีใน Photoshop อยู่แล้ว ดังวิธีการต่อไปนี้





1.เราก็เลือกภาพที่เราต้องการทำอักษรลายน้ำขึ้นมาก่อนครับ เช่นภาพนี้นะครับ



2. คลิกเครื่องมือ (Horizontal Type Tool)




3.พิมพ์อักษรข้อความลงไปบนภาพได้เลยครับ



4.ในส่วนนี้คือการย่อหรือเพิ่มขนาดของข้อความ ไปที่ edit>Transfrom>Scale จากนั้นเอาเม้าส์ไปชี้ที่จะสี่เหลื่ยมมุมใดมุมหนึ่ง ก็ลากเข้าลากออกได้ตามใจชอบครับ






5. คลิกขวาในเลเยอร์ข้อความเลือกคำสั่ง Rasterize Type เพื่อเปลี่ยนอักษรให้เป็นภาพธรรมดา





6. ที่เลเยอร์ข้อความให้ล็อคเลเยอร์ โดยคลิกปุ่ม (Lock Tranparen pixels)



7. คลิกคำสั่ง Filter > Stylize> Emboss



8. ในหน้าต่างสำหรับกำหนดค่าฟิลเตอร์ ให้กำหนดค่า Angle = 135, Height = 3 และ Amount = 100




9. หลังจากกำหนดค่าแล้วเราจะได้ผลลัพธ์ ดังภาพตัวอย่าง




10. คลิกคำสั่ง Fiter > Blur > Gaussuan Blur


11. ที่ช่อง Layer blending mode ให้เปลี่ยนโหมดเป็น Hard Light หรือเลือกโหมดอื่นๆตามใจชอบก็ได้






12.จากนั้นคลิ๊กที่ fx > Bevel and Emboss (Depth = 246 , Direction = Up , Size = 6)



เลือก OK จะได้ผลลัพธ์ดังภาพครับ



อย่าลืมลองทำดูนะครับ ...