วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

ว่าด้วยเรื่องระบบ 3จีในประเทศไทย

เป็นข่าวกันยกใหญ่สำหรับปัญหาการประมูล 3จี ที่สุดแล้วก็ตกมีอันต้องม้วนเสื่อกลับบ้านเก็บกระเป๋ากันแทบไม่ทัน เมื่อการประมูลต้องยกเลิกโดยคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ตามที่เป็นข่าว ว่ากันตรงในประเทศไทยเพิ่งจะนำ 3จีเข้ามาใช้ ระบบ3จีกำลังจะเข้ามาแทนที่ระบบเดิม ตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ยังติดปัญหาที่การให้บริการยังไม่ลงตัว แต่ประเทศไทยเราก็ก้าวกระโดดข้ามมาเลยทั้งที่ 3จียังไม่เคยใช้แต่ผู้ให้บริการยักษ์ใหญ่ทางโทรคมนาคม ก็โฆษณาจะให้บริการระบบ 3.9จี ซะล่ะ คนไทยตามไม่ทัน 3.9จียังไม่ได้ใช้ แต่ต่างประเทศเข้าจะเริ่มใช้ 4จีกันแล้ว เอ้าประเทศไทยทำอะไรอยู่ แต่ชั่งเถอะครับเรามาทำความรู้จักกับระบบนี้กันดีกว่า


3จี กลายเป็นข่าวขึ้นมาอีกแล้วเมื่อกระทรวงการคลังเตรียมรื้อสัญญาณสัมปทานมือถือใหม่ ประมาณว่ารักพี่เสียดายน้อง ในอนาคตเราจะมี 3จี แต่ระบบ 2จี ก็ยังต้องมีอยู่ต่อไป 3จี คืออะไร เห็นพูดกันนักหนา มีประโยชน์อะไรกันมากมาย ผมขอไล่เรียงมากันทีละจีครับจี คือ ตัว G ในภาษาอังกฤษ ย่อมาจาก Generation แน่นอนใครๆ ก็รู้ ในยุคแรก ซึ่งก็คือยุค 1จี คือเป็นระบบอะนาล็อก ใช้โทร.เข้ารับสายกันอย่างเดียวส่งข้อมูล เมสเสจ เอสเอ็มเอสอะไรก็ไม่ได้ยุคต่อมาคือยุค ดิจิตอล เป็นระบบ 2จี ที่เมืองไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน คือเพิ่ม ระบบการส่งข้อมูล หรือ Data ได้แทนที่จะใช้การส่งเสียงอย่างเดียว และสามารถกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับจุดต่อสัญญาณต่างๆ โทรศัพท์เครื่องเดียว จึงสามารถนำไปใช้ได้ทั่วโลก หรือที่เรียกว่าระบบ Global System for Mobilizationซึ่งก็คือ GSM ที่เราเรียกกันนั่นแหละครับ ระบบ 2จี ก็พัฒนาระบบขึ้นมาเป็น 2.5จี มีการเพิ่มเทคโนโลยี GPRS ซึ่งเป็นระบบส่งข้อมูล มีความเร็วสูงสุดประมาณ 115 Kbps ครับ ต่อมาก็พัฒนาต่อเนื่องมาเป็น 2.75จี มีระบบส่งข้อมูลที่เหนือขึ้นคือEDGE มีความเร็วในการส่งข้อมูลเร็วสูงสุดประมาณ 380 Kbpsคือถ้าจะให้พูดกัน ถ้าไม่ได้ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงอะไรมากนัก ระบบ 2.75จี ก็ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้สามัญชนธรรมดาได้ในระดับหนึ่งครับแต่ 3จี มันมีดีอะไร เมืองไทยถึงมาช้าเหลือกันจุดเด่นที่สุดของ 3จี คือความ เร็วในการส่งข้อมูลไร้สายที่มีความเร็วอย่างต่ำที่สุดที่ 1 Mbps อย่างที่ผู้ให้บริการบางรายในไทยที่กำลังทดสอบอยู่นั้นความเร็วก็อยู่แถวๆ 7 Mbps ครับ ทำให้การดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ที่มีขนาดใหญ่เป็นไปได้สะดวกมากขึ้นและจุดเด่นของ 3จี อีกประการหนึ่งก็คือ การรับส่งข้อมูลเสียง กับข้อมูลไร้สายได้พร้อมๆ กัน ที่ระบบ 2จี ทำไม่ได้ ใครใช้โทรศัพท์สมาร์ตโฟนในปัจจุบันจะเจอปัญหาโทร.ไม่ติดบ้าง เพราะว่าโทรศัพท์กำลังรับข้อมูลอื่นอยู่แต่ 3จี สามารถรับส่งข้อมูลทั้งสองประเภทได้พร้อมๆ กัน 3จี จึงตอบสนองการทำงานรับส่งข้อมูลทางธุรกิจได้อย่างดีเยี่ยมครับแต่ตอนนี้โลกกำลังพัฒนาเข้าสู่ระบบ 4จี แล้วที่มีความเร็วระดับ 100 Mbps สำหรับเมืองไทยอย่าเพิ่งไปฝันถึงมันครับ


เรื่องราวเทคโนโลยี 3G (Third Generation) คืออะไรความเร็วของ 3G อยู่ที่เท่าไร3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้นลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้นเช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ ,รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ,ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ เทคโนโลยีระบบ 3G ( UMTS ) นั้นคือการนำเอาข้อดีของ ระบบ CDMA มาปรับใช้กับ GSM เรียกว่า W-CDMA ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัท NTT DoCoMo ของญี่ปุ่นสำหรับเมืองไทยนั้น ระบบ 3G จะเป็น เทคโนโลยีแบบ HSPA ซึ่งแยกย่อยได้เป็น HSDPA , HSUPA และ HSPA+HSDPAนั้น จะสามารถ รับส่งข้อมูลได้สูงสุดที่ Download 14.4 Mbps / Upload 384 Kbps. ( ปัจจุบันผู้ให้บริการทั่วโลกยังให้บริการอยู่ที่ Download 7.2Mbps เท่านั้น )HSUPAจะเหมือนกับ HSDPA ทุกอย่างแต่การ Upload ข้อมูลจะวิ่งที่ความเร็วสูงสุด 5.76 MbpsHSPA+ เป็นระบบในอนาคต การ Download ข้อมูลจะอยู่ที่ 42 Mbps / Upload 22 Mbpsสำหรับ ในเมืองไทยนั้น ระบบ 3G ( HSPA ) ที่ Operator AIS หรือ DTAC นำมาใช้จะเป็น HSDPA โดยการ Download จะอยู่ที่ 7.2Mbps ซึ่งน่าจะได้ใช้กันในไม่ช้าข้อควรระวังในการเลือกซื้อ AirCard แบบที่รองรับ 3G คลื่นความถี่ 3G ที่ใช้กันทั่วโลก จะใช้อยู่ 3 ความถี่ที่เป็นมาตราฐานคือ 850 , 1900 และ 2100 ซึ่งเมืองไทยจะแบ่งเป็นดังนี้คลื่นความถี่ ( band ) 850 จะถูกพัฒนาโดย Dtac และ Trueคลื่นความถี่ ( band ) 900 จะถูกพัฒนาโดย AIS (ใช้ชั่วคราวที่เชียงใหม่ และ Central World)คลื่นความถี่ ( band ) 2100 กำลังรอ กทช. ทำการประมูลเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่คลื่นความถี่ ( band ) 1900 จะถูกพัฒนาโดย TOTดัง นั้นการเลือกซื้อ AirCard , Router หรือ โทรศัพท์มือถือ และต้องการให้รอบรับ 3G ควร check ให้ดีก่อนว่าสามารถรองรับได้ทั้ง 3 คลื่นหรือเพียงบางคลื่นเท่านั้น3G น่าสนใจอย่างไรจากการที่ 3G สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และ มีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G สามารถให้บริการระบบเสียง และ แอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นวีดีโอ การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิก และ การแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ ที่สร้างความสนุกสนาน และ สมจริงมากขึ้น3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดย โทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา, วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care (ตรวจสอบค่าใช้บริการ), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว “Always On”คุณสมบัติหลักของ 3G คือมีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูลซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G สำหรับ 3G อุปกรณ์สื่อสารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของอุปกรณ์ สื่อสารอื่น เช่น Palmtop, Personal Digital Assistant (PDA), Laptop และ PCทางเลือกใช้บริการ 3G มีค่าบริการที่สูงมาก โปรดสอบถามโปรโมชั่นจากผู้ให้บริการด้วยขอบคุณเนื้อหาจากครูบ้านนอก


กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : External Link ทำไมต้องเป็น 3จี แล้วระบบ 2จี ที่เราใช้กันอยู่ตอนนี้เป็นอย่างไรปัจจุบัน นี้ เราใช้เทคโนโลยี 2จี ซึ่งบางคนก็บอกว่า 2.5, 2.7 หรือ 2.8จี การจะก้าวไปสู่ 3จี ที่ดูเหมือนจะอยู่แค่เอื้อม แต่ไปไม่ถึงสักทีนั้น หากถามว่าเราพร้อมแล้วหรือยัง ความพร้อมนี้ไม่สามารถมาจากหน่วยใดหน่วยหนึ่งในระบบ แต่ต้องมาจากทุกส่วนเกี่ยวเนื่องกันหมด ไม่ว่าจะเป็น Network Provider, Operator, Terminal/ Equipment Vendor, Content, Media ที่สำคัญคือ End users ว่ามีความต้องการใช้งานที่มากกว่าความสามารถของ 2จี ในปัจจุบันนี้แล้วหรือยัง3จี ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในวงการโทรคมนาคม จุดเริ่มต้นคือเน็ตเวิร์คที่แข็งแกร่ง ด้วยปัจจัยหลายประการ 2จี ที่ใช้ทุกวันนี้ ไม่เพียงพอต่อรูปแบบเนื้อหาที่หลากหลายมากขึ้น สลับซับซ้อนมากขึ้น หรือมีขนาดที่ใหญ่มากขึ้น แม้ว่าผู้ให้บริการคอนเทนท์ทุกวันนี้ ต้องการจะพัฒนาการดูหนังฟังเพลง นำเสนอข่าวสาร กราฟฟิก ฯลฯ ให้เต็มรูปแบบมัลติมีเดียมากเพียงใด แต่ก็ต้องลดคุณสมบัติลง เพราะบางบริการเน็ตเวิร์ครองรับไม่ได้ จึงต้องออกแบบมาให้ไม่ซับซ้อนมากเกินไป และผู้ใช้งานภายใต้ระบบ 2จ สามารถเปิดใช้งานได้ในระดับหนึ่ง2จี เพียงพอแล้วหรือไม่สำหรับการใช้งานในปัจจุบันสำหรับ ผู้ใช้งานทั่วไป หากใช้งานแค่รับส่งอีเมล ดูภาพที่มีความละเอียดไม่มากนัก 2จี ก็เพียงพอแล้ว แต่เมื่อใดที่ต้องแนบไฟล์วิดีโอคลิป หรือไฟล์งานออกแบบที่มีขนาดใหญ่ ผู้รับก็จะไม่สามารถดาวน์โหลดได้จากโทรศัพท์มือถือ พีดีเอ หรืออุปกรณ์สื่อสารไร้สายอื่นๆ หรือหากทำได้ก็ใช้เวลานาน ดังนั้น เพื่อจะให้รับได้เต็มที่ ก็ต้องใช้ผ่านระบบ พื้นฐานที่มีความเสถียรมากกว่า รับไฟล์ใหญ่ได้ดีกว่า ดูภาพเคลื่อนไหวได้ไม่สะดุด แต่ด้วยไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่ไม่ชอบการสื่อสารที่ต้องหยุด นิ่งอยู่กับที่ มักจะเดินทาง ทำงาน ท่องเที่ยว แต่ขณะเดียวกันก็มีความต้องการที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางการเงิน ข่าว ความบันเทิงได้อย่างไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ทำให้ต้องการระบบ และอุปกรณ์สื่อสารที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบ 3จี เหล่านี้จะผลักดันให้ความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย ผ่านอุปกรณ์สื่อสารแบบต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และ 3จี จะส่งเสริมให้ชีวิต ไร้สายนั้น เพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลได้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นการ พัฒนาไปพร้อมๆ กันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เริ่มตั้งแต่การวางระบบเครือข่าย ติดตั้งอุปกรณ์ เนื้อหาข้อมูลที่ผู้บริโภคต้องการ ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ความร่วมมือเป็นพันธมิตรกันในอุตสาหกรรม รวมไปถึงมีเดียหรืออุปกรณ์สื่ออิเล็คทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น กล้อง เครื่องพิมพ์ โทรทัศน์ จอแสดงผล เป็นต้น ต้องมีความสามารถที่รองรับระบบ 3จี ได้ และที่สำคัญ คือแนวทางการส่งเสริมการตลาด กิจกรรมโปรโมชั่น และการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย เหล่านี้จะขับเคลื่อนความต้องการและความเข้าใจ 3จี ในกลุ่มผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น เทคโนโลยี 3จี นั้นจะเพิ่มโอกาศทั้งด้านธุรกิจ และการพัฒนา รูปแบบในการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นทั้งทางภาครัฐ เอกชน และ ประชาชนทั่วไปหลักสำคัญของ 3จี คือ ความครอบคลุมของสัญญาณ และประสิทธิภาพเมื่อใช้งานนอกสถานที่ (Coverage + Mobility) โดยเฉพาะการให้บริการบรอดแบรนด์ไร้สาย (Wireless Broadband) คือส่วนผสมที่ช่วยให้ 3จี เกิดขึ้นได้ ผู้ให้บริการโครงข่ายที่ได้เปรียบคือผู้ที่บริการในลักษณะ End to End Solutions ซึ่ง การให้บริการบรอดแบรนด์ไร้สายนี้จะมีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการให้ บริการในช่วง ปลายทางของระบบเครือข่าย (Last mile) ที่ระบบอื่นๆ ให้บริการไม่ทั่วถึง3จี ส่งผลอย่างไรต่อผู้ใช้ที่เป็นบุคคลทั่วไปใน ฐานะของผู้ใช้ “3จี” จะช่วยเพิ่มทางเลือกให้มากขึ้นในชีวิตประจำวัน มากกว่าการใช้งานในระบบ 2จี เช่น การตรวจรักษาอาการทางการแพทย์เบื้องต้นในระบบทางไกล (Remote Medical service), การรับชมภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ต่างๆ ตามความต้องการ (Video on demand), การติดตามเฝ้าระวังภัยในสถานที่ต่างๆ (Online-monitoring), การติดต่อสื่อสารภายในเฉพาะกลุ่ม (Web community online) แม้แต่เกมออนไลน์ หรือการอัพโหลดวิดีโอคลิป สามารถทำได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว สิ่งใดที่ทำได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป ก็ย่อมสามารถทำได้บนโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์สื่อสารไร้สายใดๆ ได้เช่นเดียวกัน นี่เป็นแนวโน้มของชีวิตสมัยใหม่สำหรับเนื้อหา ข้อมูลข่าวสารสาระและบันเทิง (Content) ในปัจจุบัน มีให้เลือกมากมาย ซึ่งถ้าเชื่อมต่อผ่าน Fix line หรือ ADSL ย่อมสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อยู่แล้ว เพียงแต่ 3จี ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อ เข้าถึงข้อมูลได้อิสระมากยิ่งขึ้น (Mobility) ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน อย่างไรก็ตาม 3จี จะดีกว่า 2จี หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ Quality of Experience คือเมื่อใช้งานแล้วสามารถเข้าถึงคอนเทนท์ได้อย่างราบรื่นรวดเร็ว ไม่มีติดขัดไม่กระตุก ย่อมสร้างความประทับใจและทำให้ผู้ใช้มีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน 3จี3จี ส่งผลอย่างไรต่อองค์กรด้วย ความโดดเด่นของ 3จี คือสามารถส่งข้อมูล+เสียงไปพร้อมกันได้ดี บริษัทหรือองค์กรต่างๆ สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เช่น การประชุมทางไกลที่สามารถทำได้ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Teleconference, Video Conference), หรือ การทำโมบายล์ ออฟฟิศ และ การติดต่อประสานงานที่กระชับรวดเร็ว หรือ การส่งไฟล์ขนาดใหญ่ ที่สามารถเปิดอ่านได้บนมือถือ จึงทำให้เพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้มากยิ่งขึ้นนอก จากนี้ ยังสามารถพัฒนาบริการต่างๆ ขององค์กร ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในรูปแบบการตลาดที่แปลกใหม่ ดึงดูดใจและหลากหลายมากยิ่งขึ้น สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการโดยร่วมมือกับพันธมิตรดำเนินธุรกิจที่ส่ง เสริมกันและกัน เพื่อให้บริการที่แปลกใหม่ และสะดวกยิ่งขึ้นแก่ผู้ใช้ เช่น การดาวน์โหลดเพลง การช้อปปิ้งผ่านมือถือ การติดตามสอดส่องเฝ้าระวังความปลอดภัยภายในบ้าน เรียลไทม์ (Online Monitoring)เทคโนโลยีที่เหนือกว่า 3จี คืออะไรถัด จากเทคโนโลยี 3จี ซึ่งขณะนี้ อยู่ในเทคโนโลยีอยู่ในช่วงเอชเอสพีเอ คือเอชเอสพีเอ+ หรือ และถัดไป คือ 4จี ซึ่งแตกต่างกันที่ “Throughput” หรือความสามารถในการส่งข้อมูลที่มากขึ้นต่อช่วงเวลาหนึ่ง ส่งได้เร็วมากขึ้นในระยะเวลาที่สั้นมากขึ้น ขณะนี้ ในโลกปัจจุบันเราอยู่ในยุคของเอชเอสพีเอ ในแง่ของผู้ให้บริการ การจะอัพเกรดไปยังเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ต้องพิจารณาระบบและอุปกรณ์ในเครือข่ายที่มีอยู่ (Existing network) อุปกรณ์เดิมบางอย่างไม่เอื้อต่อการพัฒนาไปสู่ 3จี หรือ 4จี หรือทำได้ก็ไม่ดีพอ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการลงทุนเครือข่ายในอนาคตยังมีเทคโนโลยีที่เหนือกว่า 4จี หรือไม่ แล้วจำเป็นหรือไม่สำหรับบ้านเรา4จี หรือแอลทีอี (Long Term Evolution) เน้น Throughput; uplink, downlink เป็น 100 Mbps หากจะดาวน์โหลดภาพยนตร์ในระบบดีวีดีก็ทำได้ในระยะเวลาไม่กี่วินาที อย่างไรก็ตาม ต้องรอให้ผู้บริโภคมีประสบการณ์การใช้งานที่ดีก่อนจาก 3จี เพื่อพัฒนารูปแบบการใช่งานของผู้บริโภค ตอนนี้เราไม่สามารถจินตนาการได้ว่าการใช้งานในระบบ 4จี จะต่างจาก 3จี อย่างไร ในแง่ความหลากหลายของบริการ หรือ ความต้องการของตลาดและผู้ใช้งานจริง แน่นอนว่าประสิทธิภาพในด้านความเร็วจะดีกว่ามาก แต่ดีเกินความจำเป็นหรือไม่ ตอนนี้เรายังตอบไม่ได้ ความต้องการการใช้งานจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในอนาคต เมื่อผ่านยุคของ 3จี ถึงตอนนั้นเราอาจจะพอเห็นความต้องการอย่างชัดเจนแล้ว เช่น อาจจะมีคอนเทนท์ที่แปลกใหม่ และเป็นที่นิยมในหมู่ประชาชนทั่วไป ซึ่งต้องการประสิทธิภาพเครือข่ายในระดับสูงกว่า 3จี ก็เป็นได้ปัจจัยที่จะผลักดันตลาดให้ 3จี เกิดและประสบความสำเร็จ

1. ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ตลาดทั้งในด้านเทคโนโลยีและบริการ ให้ประชาชนรู้จักใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Educate market)

2. พัฒนาระบบเครือข่ายให้มีความพร้อม สามารถรองรับการเชื่อมต่อได้ครอบคลุมและรวดเร็ว (Network Availability)

3. มีการพัฒนาเนื้อหาข้อมูลทั้งสาระความรู้ ข่าวสาร และบันเทิงที่ดึงดูดความสนใจ (Content Provider)

4. การให้บริการจะต้องไม่ซับซ้อน และค่าบริการต้องไม่สูงเกินไป จึงจะผลักดันตลาดได้

5. รัฐบาลต้องผลักดัน โดยให้กฎระเบียบเปิดกว้าง เอื้อต่อการลงทุนและส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน (Government Support)

6. ความแพร่หลายและความหลากหลายของ Terminal หรือ อุปกรณ์สื่อสาร (Handset) เช่น มีทุกระดับราคา มีหลายรุ่นให้เลือก คนทั่วไปสามารถซื้อได้ ราคาย่อมเยา (Affordable, Accessible)

นายพิสิษฐ์ กล่าวในที่สุดว่า 3จี ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง แต่เป็นเส้นทางแห่งการพัฒนาเทคโนโลยี ไม่ได้หมายถึง “ดีกว่า” แต่รองรับการใช้งานที่ “ซับซ้อนกว่า” ตามยุคสมัยและความต้องการของสังคม เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศ (Tele Communication network) เมื่อ 3จี เข้ามา ย่อมกระตุ้นการใช้งานและพัฒนาไปพร้อมๆ กันทั้งระบบของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของผู้ให้บริการระบบเครือข่าย ผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผู้ให้บริการคอนเท้นต์ ผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารที่เกี่ยวเนื่อง ซัพพลายเออร์ เวนเดอร์สุดท้ายแล้ว ผู้ที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการพัฒนาเทคโนโลยีสู่ระบบ 3จี คือ ผู้บริโภค หรือ End Users นั่นเองที่มา กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : External Link




วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

วีดีโอพิธีเปิดมหกรรมตลาดนัดความรู้ กศน.โดย ฯพณฯ ศุภชัย โพธิ์สุ ...

เมื่อวันที่ 2-3 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา สำนักงาน กศน.จังหวัดนครพนมของเราได้จัดงาน มหกรรมตลาดนัดความรู้ กศน. ประจำปีงบประมาณ 2553 เนื่องในโอกาส "วันที่ระลึกแห่งการรู้หนังสือสากล" ที่องค์กรยูเนสโกได้กำหนดให้วันที่ 8 กันยายน ของทุกปีเป็นวัน แห่งการเรียนรู้หนังสือ คณะกรรมการจัดงานในครั้งนี้มีนายชำนาญ วันแก้ว ผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัดนครพนมเป็นประธานคณะกรรมการจัดงาน และประธานในพิธีเปิดงานได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจาก ฯพณฯ ศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการเปิดงาน มีนายยงยุทธ นุกิจรังสรรค์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นผู้กล่าวต้อนรับท่านรัฐมนตรีฯ

สามารถรับชมพิธีเปิดได้จากวีดีโอข้างล่างนี้นะครับ

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

ความรู้เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" จากแนวคิดสู่ "การปฏิบัติ"


เจ้าของความรู้ นางกัญญา จุฑามณีตำแหน่ง พัฒนาการอำเภอบางเสาธงสังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางเสาธงเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 084-7593600เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ ความไม่ชัดเจนในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและการนำไปใช้ในวิถีชีวิต


เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2550สถานที่เกิดเหตุการณ์ จังหวัดสมุทรปราการในปี 2550 เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 ประกอบกับรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดนโยบายขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เป็นรากฐานการดำรงชีวิตของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนและระดับประเทศมุ่งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การนำความรู้ไปขยายผลในพื้นที่ให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมกับมุ่งส่งเสริมการสร้างสิ่งแวดล้อมของชุมชนให้น่าอยู่ประชาชนมีวิถีชีวิตอย่างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขจังหวัดสมุทรปราการดำเนินการคัดเลือกหมู่บ้านเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 80 หมู่บ้าน จาก 5 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ โดยกำหนดการดำเนินงานแบ่งเป็น 4 กิจกรรม คือ 1) การประชุมชี้แจงการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตและการจัดการหมู่บ้านสะอาดน่าอยู่ให้กับแกนนำชุมชน สมาชิก อบต. กำนัน , ผู้ใหญ่บ้าน , ผู้นำ อช. , อช. , องค์กรสตรี , ประธานกลุ่มอาชีพ OTOP ฯลฯ 2) จัดมหกรรมอาชีพ แก้จน จำนวน 30 อาชีพ ให้กับครัวเรือนยากจนในหมู่บ้านเป้าหมาย 3) สนับสนุนกิจกรรมทางเลือกด้านอาชีพแก่ครัวเรือนยากจนในหมู่บ้านเป้าหมาย 4) การคัดเลือก / มอบรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่น โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการและได้รับความร่วมมือจาก คณะวิทยากร ได้แก่ นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , นายอัครวัฒน์ อัศวเหม รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ , ดร. ธันวา จิตต์สงวน อนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง รองอธิการบดีฝ่ายโครงการพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ นายอเนก เพ็งสุพรรณ ปราชญ์ชาวบ้านจากอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการบรรยายเรื่อง “การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ” การดำเนินงานของจังหวัดมีการติดตาม / ประเมินผลโดยมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติและคณะทำงานที่ได้รับการแต่งตั้งในการติดตามผลรายอำเภอใช้เกณฑ์ตัวชี้วัดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 6X2 ของกรมการพัฒนาชุมชนเป็นเครื่องมือหนึ่งในการวัดผลความก้าวหน้า ในด้านการประชาสัมพันธ์มีการออกสปอร์ตการให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงทางวิทยุชุมชน สื่อสารสิ่งพิมพ์ภายในจังหวัด มีการจัดทำป้ายไวนิล แผ่นพับประชาสัมพันธ์ในทุกพื้นที่ ปัญหาที่ต้องแก้ไขขณะดำเนินการต้องให้ความระมัดระวัง อาทิ กิจกรรมการประชุมชี้แจงฯ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมากกระบวนการที่ใช้ คือ การบรรยาย / การอภิปรายบนเวทีในห้องประชุมใหญ่ ไม่มีการถ่ายทอดโทรทัศน์วงจรปิด ทำให้คนที่นั่งด้านหลังไม่เห็นและได้ยินไม่ชัดเจน ปัญหานี้แก้ไขโดยการจัดทีมงานออกไปบรรยายเป็นรายอำเภอ การทำแผ่น CD-ROM เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแจก อีกกรณีหนึ่งที่ต้องให้ความระมัดระวังก็คือเรื่องระยะเวลาการดำเนินงานซึ่งมีเวลาจำกัดไม่สมดุลกับจำนวนกิจกรรมและการที่จะเห็นผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ทำให้ต้องขออนุมัติขยายระยะเวลาการดำเนินงานออกไปอีก 2 เดือนและมีกิจกรรมเสริมต่อเพื่อความต่อเนื่องให้เกิดการพัฒนาในระยะยาวในลักษณะ “สร้างเพื่อน สร้างเครือข่าย”หลังจากการดำเนินงานเสร็จสิ้น ปรากฏว่า ประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมายเกิดความตื่นตัวที่จะน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งในระดับตนเอง ครอบครัวและชุมชน เช่น การจัดทำบัญชีรับจ่ายครัวเรือน รู้จักการออม ลด ละ เลิกอบายมุข การสอนบุตรหลานให้ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงมีความเอื้ออาทร นำภูมิปัญญาและทรัพยากรชุมชนมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ การมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการมีอาชีพเสริม ความผาสุขของครอบครัวหลังจากนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ ทำให้ครัวเรือน / ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจเป็นอย่างมาก


ขุมความรู้ (Knowledge Assets)

1.การค้นหาข้อมูล รวบรวมข้อมูล วางแผน เตรียมความพร้อมในการทำงาน ประสานงานชี้แจงทำความเข้าใจกับทีมงาน เพื่อสร้างความเข้าใจและมองเป้าหมายเดียวกัน

2. การดำเนินงานมีความเชื่อมโยงและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งในระดับแกนนำชุมชนและประชาชนในหมู่บ้านก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

3. ติดตามผลการดำเนินงานทุกระยะ ถ้ามีข้อผิดพลาดจะได้ปรับปรุงแก้ไขได้ทันเหตุการณ์และทำให้ประสิทธิผลการทำงานบรรลุเป้าหมายได้ง่ายยิ่งขึ้น

4. การเผยแพร่ข่าวสารในทุกช่องทาง ทุกรูปแบบให้ถึงประชาชนในทุกพื้นที่ของจังหวัดให้มากที่สุด เพื่อให้ประชาชนรับรู้ เกิดความตื่นตัวที่จะน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในวิถีชีวิตของตนเอง


แก่นความรู้ (Core Competency)

1.การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ

2. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รัฐ เอกชน องค์กรเครือข่าย3

. การติดตาม ประเมินผล

4. การประชาสัมพันธ์


กลยุทธ์ในการทำงาน1

. การชี้แจงทำความเข้าใจ

2. การประสานงาน สร้างความคุ้นเคยกับทุกภาคส่วน

3. การรายงานผลให้ผู้บังคับบัญชารับทราบเป็นระยะกฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ที่มา : ทีม พช.สมุทรปราการ samutprakan.blogspot.com
เขียนโดย : kukiat

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

เทคนิคการพัฒนาภาวะผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ในการพัฒนาชุมชน


ชื่อ-นามสกุล นางสาวสุริสา วรอานันท์

ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางบ่อเ

บอร์โทรศัพท์ 083-268-8838

เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ ผู้นำรุ่นใหม่ไม่กล้าแสดงออกหรือไม่มีภาวะการนำเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2552สถานที่เกิดเหตุการณ์ บ้านคลองบางพลีน้อย หมู่ที่ 6 ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ


เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ เดือนมิถุนายน 2552 โดยข้าพเจ้าได้รับคำสั่งให้ย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางบ่อ และได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ”พออยู่ พอกิน” ซึ่งเป้าหมายในการดำเนินงาน คือ บ้านคลองบางพลีน้อย หมู่ที่ 6 ตำบลบางพลีน้อยข้าพเจ้าได้เริ่มปฏิบัติการโดยการจัดประชุมครัวเรือนเป้าหมาย และในการประชุมครั้งนั้นข้าพเจ้าได้ขอให้ตัวแทนชาวบ้าน ช่วยสรุปผลการดำเนินงานของหมู่บ้านที่ผ่านมา เนื่องจากข้าพเจ้าได้รับข้อมูลจากท่านพัฒนาอำเภอบางบ่อในขณะนั้น(นางจินดา รัตนพันธ์) ว่าหมู่บ้านนี้เคยได้รับงบประมาณสนับสนุนงบประมาณในปี 2550 จำนวน 100,000 บาท ให้ดำเนินการหมู่บ้านพอเพียง ผลปรากฏว่าไม่มีใครกล้าออกมาสรุป แต่กับกลายเป็นว่าต่างคนต่างแย่งกันเล่า ทำให้ข้าพเจ้าทราบว่า หมู่บ้านคลองบางพลีน้อยแห่งนี้มีความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับหนึ่ง ถ้าจะต่อยอดให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ”พออยู่ พอกิน” ก็ไม่น่าจะยาก เนื่องจากสามารถปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ แต่หมู่บ้านนี้มีปัญหาในเรื่องไม่มีผู้นำที่จะนำเสนอผลงานให้กับบุคคลอื่นได้เรียนรู้ ข้าพเจ้าจึงมีแนวความคิดที่จะสร้างผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ขึ้นมา เพื่อที่จะสามารถถ่ายทอดขั้นตอนและผลการดำเนินงาน รวมถึงความรู้ต่าง ๆที่มีอยู่ในหมู่บ้าน โดยมีเป้าหมายจะส่งเสริมให้บ้านคลองบางพลีน้อยเป็นทั้งหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบและต่อยอดเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนด้วยเมื่อตัดสินใจจะสร้างผู้นำชุมชนรุ่นใหม่แล้ว ก็มีปัญหาว่า แล้วผู้นำคนนั้นจะเป็นใคร และปัญหานี้ก็มีทางออก เมื่อข้าพเจ้าพบผู้นำคนนี้ จากการที่ข้าพเจ้าได้นำครัวเรือนเป้าหมายเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนากสิกรรมธรรมชาติสู่เศรษฐกิจพอเพียง ที่สถาบันเศรษฐกิจพอเพียงมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ วิทยาเขตบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา มีผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมกิจกรรมอยู่ 3-4 คน ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับที่ข้าพเจ้าคาดหวัง และที่โดดเด่นมาก คือ น้องใกล้รุ่ง แสงทอง เนื่องจากใกล้รุ่ง แสดงให้เห็นว่าสามารถซึมซับแนวคิด หลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และมุ่งมั่นที่จะนำแนวคิดนี้ปฏิบัติอย่างจริงจังข้าพเจ้าเริ่มปฏิบัติการโดยประกบน้องใกล้รุ่ง แบบตัวต่อตัว โดยในการดำเนินการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และขยายผลศูนย์การเรียนรู้ชุมชนจะมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นระยะ ๆ เมื่อดำเนินการจัดเวทีในแต่ละครั้งข้าพเจ้าพูดคุย แลกเปลี่ยนกับใกล้รุ่ง เสมอว่าในเวทีแต่ละครั้งใกล้รุ่ง ได้เรียนรู้เรื่องอะไร และตรงกับวัตถุประสงค์ในการจัดหรือไม่ มีอะไรที่ยังอยากเรียนรู้เพิ่มเติม จะได้นำมาพูดคุยกันในเวทีครั้งต่อไป และบอกให้ใกล้รุ่งกลับไปเขียนบันทึกไว้กันลืม ซึ่งในการจัดเวทีแต่ละครั้งข้าพเจ้าจะกระตุ้นให้ตัวแทนครัวเรือนได้ออกมาสรุปผลเวทีครั้งที่ผ่านมาให้กับเพื่อนฟังประมาณ 3-4 คน เสมอ แรก ๆก็มีการเกี่ยงกันเล็กน้อย เลยต้องชี้ให้ออกมาพูดน้องใกล้รุ่งก็เป็นเป้าหมายที่ข้าพเจ้าให้ออกมาพูด เมื่อข้าพเจ้าเห็นว่าน้องใกล้รุ่ง รวมทั้งผู้นำชุมชนคนอื่น ๆ มีปัญหาในการพูด ข้าพเจ้าได้ประชาสัมพันธ์ระบบมาตรฐานงานชุมชน(มชช.) ซึ่งเป็นระบบที่ต้องการพัฒนาคุณภาพของคนให้เป็นที่ยอมรับ และชี้ให้เค้าเห็นถึงประโยชน์ว่าเมื่อสมัคร มชช.แล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ปรากฏว่าน้องใกล้รุ่งและผู้นำอีก 5 คน รวมเป็น 6 คน สมัครเข้าสู่ระบบ มชช. ประเภทผู้นำชุมชน ซึ่งข้าพเจ้าในฐานะพัฒนากรผู้รับผิดชอบงาน มชช.ก็จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าชุมชน และเมื่อสรุปในแต่ละเวทีก็จะให้ผู้นำทั้ง 6 คน ในเป็นคนออกมาสรุป เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ เป็นการพัฒนาตนเองอีกทางหนึ่ง ซึ่งในแต่ละเวทีน้องใกล้รุ่งทำได้โดดเด่นและเริ่มเป็นที่ยอมรับ เนื่องจากนำประสบการณ์จริงที่ได้จากโครงการฯ มาถ่ายทอดและเวทีที่พูดคุยก็เป็นคนในหมู่บ้านเองเมื่อบ้านคลองบางพลีน้อยได้เป็นตัวแทนของอำเภอบางบ่อเข้าร่วมการประกวดกิจกรรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง”อยู่เย็น เป็นสุข” ประจำปี 2553 ข้าพเจ้าได้ประชุมเพื่อวางแผนและแบ่งงานกันทำ ปรากฏว่าน้องใกล้รุ่ง ได้รับการเสนอชื่อให้สรุปผลการดำเนินงานของหมู่บ้านอย่างเป็นเอกฉันท์ ได้ออกมาพูดกับข้าพเจ้าว่าเครียดกลัวทำไม่ได้ ข้าพเจ้าพูดให้กำลังใจไปว่า น้องต้องทำได้แน่นอน เพราะในเวทีแต่ละครั้งที่มีการสรุป น้องสามารถสรุปได้ชัดเจน เป็นรูปธรรม และเป็นธรรมชาติ น้องใกล้รุ่ง บอกว่าที่ทำได้เพราะพูดกับคนในหมู่บ้าน แต่ไม่เคยพูดในเวทีอื่น ๆ เลย ข้าพเจ้าบอกให้กำลังใจ และแนะนำให้น้องทบทวนถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ปฏิบัติจริงจากโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ รวมถึงการขยายผลศูนย์เรียนรู้ชุมชน และแบ่งประเด็นที่จะนำเสนอเป็นประเด็นหลัก ๆ ไม่ต้องอ่านตามเอกสารทั้งหมด แต่ให้พูดจากความคิด ความรู้สึก ที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติจริง จนเกิดเกิดประโยชน์ต่อตนเองและคนในหมู่บ้านรวมถึงความต้องการจะถ่ายทอดให้กับคนอื่นได้รู้ ได้แลกเปลี่ยนกัน และก่อนการประกวดให้น้องใกล้รุ่ง มาลองนำเสนอให้ฟังก่อนการประกวดเมื่อถึงวันประกวดก่อนที่คณะกรรมการจะเดินทางมาถึง ข้าพเจ้าได้ทบทวนให้กับครัวเรือนเป้าหมายถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่หมู่บ้านคลองบางพลีน้อยได้ดำเนินการมาจากหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ”พออยู่ พอกิน” สู่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจพอเพียง มีจุดเรียนรู้ 3 ฐาน ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น มีจุดเรียนรู้อยู่ 9 จุด จนมาถึงการเข้าสู่การประกวด เมื่อข้าพเจ้าทบทวนเสร็จ น้องใกล้รุ่งเดินมาพูดกับข้าพเจ้าว่า “พี่หนูพูดประมาณพี่ได้ไหม” ข้าพเจ้าตอบว่าได้ซิ น้องใกล้รุ่ง ทำได้ดีอยู่แล้วล่ะ หายใจลึก ๆ ทำจิตใจให้สบาย ไม่ต้องเกร็ง ทบทวนประเด็นสำคัญ ๆ ถ่ายทอดเรื่องจริงที่ได้ปฏิบัติมา เล่าให้เค้าฟัง อยากเล่าอะไรเล่าไปเลย ไม่ต้องเครียดเมื่อถึงเวลานำเสนอข้าพเจ้าให้น้องใกล้รุ่งนำเสนอเป็นคนสุดท้าย เนื่องจากจะได้คุ้นเคยกับคณะกรรมการ เห็นลีลาท่าทางของคนอื่น และมีเวลาเตรียมตัวเตรียมใจมากขึ้น ผลปรากฏว่าเมื่อนำเสนอผลงานจบน้องทำได้ดี จนท่านพัฒนาการจังหวัดสมุทรปราการพูดเย้าว่า “เดี๋ยวกลับไปต้องตัดเงินเดือนลูกน้องโทษฐานโกหกผู้บังคับบัญชาว่าน้องพึ่งนำเสนอเป็นครั้งแรก”


ขุมความรู้

1. สืบค้นผู้นำรุ่นใหม่ที่มีหน่วยก้านและใฝ่รู้

2. สร้างความคุ้นเคย/ติดตามส่งเสริมสนับสนุนและเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้

3. กระตุ้นให้มีบทบาทและภาวะผู้นำ

4. เสริมให้เข้าสู่ระบบ มชช.

5. ให้กำลังใจและผลักดันให้กล้าแสดงออก

6. ให้โอกาสในการแสดงบทบาทผู้นำที่เด่นชัด


แก่นความรู้

1. สร้างความสนิทสนมคุ้นเคย

2. กระตุ้นให้กำลังใจ

3. เอื้ออำนวยด้วยบทบาทพี่เลี้ยง

4. ให้โอกาสกลยุทธ์ ให้โอกาส สร้างแรงบันดาลใจ ใฝ่ส่งเสริม เติมพลังความเชี่ยวชาญ
ที่มา : samutprakan.blogspot.com
เจ้าของเรื่อง : สุริสา วรอานันท์
เขียนโดย : กู้เกียรติ ญาติเสมอ

เทคนิคการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ


เจ้าของความรู้ นางสงวน มะเสนาตำแหน่ง หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชนสังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ

แก้ปัญหาเกี่ยวกับ การทำงานให้ประสบผลสำเร็จต้องทำอย่างไรเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2528สถานที่เกิดเหตุการณ์ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานีการได้รับ “ครุฑทองคำ” หรือการได้รับการพิจารณาคัดเลือกเป็น “ข้าราชการพลเรือนดีเด่น” นับว่าเป็นความสำเร็จอย่างหนึ่งของการเป็นเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน เมื่อนั่งครุ่นคิด มองย้อนหลังไปเมื่อครั้งเริ่มต้นชีวิต การทำงาน ด้วยการเป็น เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ระดับ 1(พัฒนากรรุ่น 14) เป็นก้าวแรกในการเดินเข้าสู่ การเป็นข้าราชการใน“ครอบครัวพัฒนาชุมชน” ของข้าพเจ้า เมื่อวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2528 ณ สำนักงาน พัฒนาชุมชน เขตที่ 4 (สพช. เขต 4) อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันคือศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 4(ศพช.เขต4) ตลอดระยะเวลาที่รับการฝึกอบรมก่อนประจำการ 3 เดือนเศษ คือระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ –16 พฤษภาคม 2528 สถานที่แห่งนี้ได้ฝึกอบรม บ่มนิสัย ให้ความรู้และประสบการณ์ ในการทำงานกับประชาชน สำหรับข้าราชการใหม่ จำนวน 97 คน ซึ่งข้าพเจ้าได้เป็นกลุ่มเป้าหมายหนึ่งในจำนวนนั้น ภายใต้คำขวัญของกรมการพัฒนาชุมชน โดยการนำของท่านอธิบดีฯ สุวนัย ทองนพ ที่ว่า “หมู่บ้าน คือ ที่อยู่รวมกันของชาวบ้านที่เขาต้องการอยู่ร่วมกันด้วยความผาสุกตลอดไป ”จากคำขวัญสั้น ๆ นี้ ไม่น่าเชื่อว่าจะทำให้เกิดกิจกรรมที่ยืนยาว และวิธีการที่มากมายหลากหลายอย่างในการทำงานพัฒนาชุมชน เพื่อจะให้ชาวบ้านเดินไปสู่เป้าหมายที่เขาต้องการ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือก่อให้เกิด“ทัศนคติที่ดีและอุดมการณ์“ ในการทำงานของข้าพเจ้า ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าตัวข้าพเจ้าเองก็เป็นลูกชาวบ้านที่ใช้ชีวิตอยู่ในชนบทที่งดงาม มีวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ จึงมีความต้องการและอยากจะเห็นหมู่บ้านของเราเป็นอย่างนั้น...อยู่ร่วมกันด้วยความผาสุกตลอดไป ด้วยความเชื่อมั่นในหลักและวิธีการพัฒนาชุมชน ว่าจะสามารถทำให้ประชาชนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ข้าพเจ้าจึงมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ และมุ่งมั่นที่ “จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด“ นี่คือแรงบันดาลใจให้ต้องศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมจากการฝึกอบรมอีกมากมาย ทั้งเรียนในระบบของสถาบันการศึกษา และการเรียนรู้นอกระบบ ที่มีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมถึงระเบียบกฎหมาย ข้อมูลด้านต่าง ๆ เอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ สิ่งสำคัญที่สุดคือการได้ลงไปปฏิบัติงานจริงในตำบล หมู่บ้าน ในตำแหน่งพัฒนากรของข้าพเจ้า ในเขตพัฒนาตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม ที่ข้าพเจ้าจะต้องทำงานร่วมมือร่วมใจกับประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่หลักของข้าราชการพัฒนาชุมชน โดยการสนับสนุน ช่วยเหลือด้านต่าง ๆ จากท่านพัฒนาการอำเภอและพี่ ๆ พัฒนากร ที่คอยให้คำแนะนำ ซึ่งมีทั้งคำตำหนิ และถูกดุบ้างเป็นบางครั้งในกรณีที่ทำงานผิดพลาด แต่ก็ไม่หวั่นไหว ไม่ท้อแท้ เพราะเป็นบทเรียนที่ล้ำค่า ท่ามกลางความภูมิใจเมื่อได้รับคำชมว่าทำงานได้ดี ในบางครั้งก็เกิดความสงสัยเหมือนกันว่า ทำไมพี่ ๆ มอบหมายงานให้เราทำมากมาย ทั้งงานในสำนักงานก็มากและยังให้รับผิดชอบ 2 ตำบลใหญ่ที่มีหลายหมู่บ้านแต่ก็ไม่เคยท้อถอยและปฏิเสธงานที่ได้รับมอบหมายแต่ประการใด และไม่เคยปริปากบ่นหรือต่อว่าพี่ ๆ ที่มอบงานให้ทำมากเช่นนั้น ยังคงตั้งหน้าตั้งตาทำงานให้เต็มกำลังความสามารถ ภายใต้การดูแลของพี่ ๆ พัฒนากรที่อบอุ่น คอยดูแลการทำงานของข้าพเจ้าไม่ทอดทิ้งให้ต่อสู้อุปสรรคอย่างเดียวดายจากการที่ไม่เคยเลือกงานหรือปฏิเสธงาน มีความรับผิดชอบต่องานเสมอมาได้ทำงานด้วยความเต็มใจและตั้งใจ จึงทำให้ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา ให้รับผิดชอบงานสำคัญที่เป็นนโยบายหลักเสมอ ๆ จากสภาพดังกล่าวนี้ได้ส่งผลดีต่อข้าพเจ้า กล่าวคือ ทำให้ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ตรงในการทำงานมากขึ้นได้ศึกษาค้นคว้าเนื้อหารายละเอียดเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานนั้น ๆ รวมถึงการหารูปแบบวิธีการที่จะทำให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย โดยข้าพเจ้าถือว่าการทำงานนั้น ”ทำมากได้มาก ยิ่งทำมากยิ่งรู้มาก“ คือ ได้ทั้งความรู้และประสบการณ์ที่ทรงคุณค่าอนึ่ง ในการทำงานใด ๆ จะให้ประสบผลสำเร็จนั้น นอกจากผู้ปฏิบัติงานจะมีอุดมการณ์ที่สูงส่ง มีความเสียสละ และมีธรรมาภิบาล แล้ว ข้าพเจ้าเห็นว่า ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ อีกมากมาย ตั้งแต่ระดับสูงลงมา ดังเช่น ผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นผู้ที่ให้โอกาสในการทำงานให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ ตลอดจนการส่งเสริม สนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมี เพื่อนร่วมงาน ภาคีพัฒนา ประชาชน เป็นผู้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานที่ช่วยเติมเต็มทั้งพลังความคิด พลังกาย และพลังใจให้งานได้ขับเคลื่อนไปสู่จุดหมาย และที่สำคัญยิ่งจะขาดไม่ได้เลย คือ ครอบครัว ที่สมาชิกครอบครัว เช่น คู่สมรส บุตร ธิดา มีความเข้าใจในหน้าที่และลักษณะงานที่เราทำ พร้อมให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ และเป็นกำลังใจ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะได้รับความร่วมมือหรือการช่วยเหลือสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องข้างต้น นั้น ข้าพเจ้าได้ถือปฏิบัติในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ดังนี้ประการแรก คือ ความจริงใจ และการให้เกียรติแก่ผู้ร่วมงาน ไม่ว่าผู้ร่วมปฏิบัติงานกับเราจะเป็นใคร จะมีตำแหน่งหน้าที่สูงต่ำเพียงใด ก็จะให้ความสำคัญกับทุกคนประการที่สอง คือ การทำงานที่ยึดถือระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่กระทำในสิ่งที่ผิดหรือขัดต่อระเบียบประการที่สาม คือ มีความรับผิดชอบ อดทน เสียสละ ซื่อสัตย์ คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลประการที่สี่ คือ การวางตัวเสมอต้นเสมอปลาย มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีหัวใจ นักประชาธิปไตย คือ ต้องให้ผู้อื่นมีส่วนร่วม และรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ข้าพเจ้าพร้อมที่จะรับฟังคำติชมของผู้อื่น เพื่อจะเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองต่อไปประการสุดท้าย คือ การทำงานทุกครั้งทุกกิจกรรมจะต้องทำให้ดีที่สุด ซึ่งข้าพเจ้ามีคติพจน์ในการทำงาน คือ “ทำวันนี้ให้ดีที่สุด”จากถ้อยร้อยเรียงที่กล่าวมานั้น เป็นแนวทางที่ข้าพเจ้ายึดถือในการปฏิบัติงานมาโดยตลอดเป็นระยะเวลา 22 ปีเศษ ทั้งในหน้าที่พัฒนากร นักวิชาการพัฒนาชุมชน และพัฒนาการอำเภอ ทำให้ข้าพเจ้าได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชา ได้รับการสนับสนุน ช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานและภาคีพัฒนา ได้รับความเชื่อถือศรัทธาและความร่วมมือจากประชาชน ก่อให้เกิดผลสำเร็จในการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน และทำให้ข้าพเจ้าได้รับการพิจารณาคัดเลือกเป็น“ข้าราชการพลเรือนดีเด่น”(ครุฑทองคำ) เมื่อปี พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าภาคภูมิใจมากในการเป็น ”ข้าราชการกรมการพัฒนาชุมชน” และข้าพเจ้าได้มีปณิธาณที่แน่วแน่ในการสืบสานการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม และเน้นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ให้สมกับที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม “ครุฑทองคำ”
ขุมความรู้
1. “ทัศนคติที่ดีและอุดมการณ์“
2. ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด
3. ทำงานร่วมมือร่วมใจกับประชาชน
4. ไม่หวั่นไหว ไม่ท้อแท้
5. ไม่เคยท้อถอยและปฏิเสธงาน
6. ทำงานให้เต็มกำลังความสามารถ
แก่นความรู้
1. ทัศนคติที่ดี
2. ร่วมใจกับประชาชน
3. ไม่เคยท้อถอย
4. ทำงานให้เต็มกำลังความสามารถ
ที่มา : samutprakarn1.blogspot.com
เจ้าของความรู้ : นางสงวน มะเสนาตำแหน่ง
เขียนโดย : กู้เกียรติ ญาติเสมอ

km การจัดการความรู้เชิงแนวคิดทฤษฎี

ผมได้ลองหาบทความหรือความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับ การจัดการความรู้ เพื่อเพิ่มความรู้และเติมในส่วนที่ผมไม่เข้าใจในเรื่องของการจัดการความรู้ ผมได้พบเว็บบล็อคหนึ่ง ของสมุทรปราการบล็อคสปอต มีเทคนิคมากมายให้ศึกษาเรียนรู้ เกี่ยวกับการทำงาน การพัฒนาวิชาการด้านต่าง ๆ ผมจึงนำมาเผยแพร่ (ยังไม่ขออนุญาติเจ้าของเรื่อง นะครับ เอาเป็นว่าขออนุญาตินำมาเผยแพร่นะครับ อิอิอิ)ลองอ่านดูเล่น ๆ นะครับ

เรื่อง การจัดการความรู้เชิงแนวคิดทฤษฎี

1.ความเป็นมา(บทนำ)กระแสการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ต้องเผชิญไม่ว่าจะเป็นบุคคล หรือองค์กร การเปลี่ยน แปลงที่เกิดขึ้นมันรวดเร็วและรุนแรง ก็ด้วยปัจจัยที่เกิดจากการก้าวกระโดดของเทคโนโลยีสาร สนเทศ ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และความซับซ้อนของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลกระทบกับการดำเนิน งานทั้งภายในและภายนอกองค์การ ส่งผลให้เวทีการแข่งขันที่เคยจำกัดอยู่ในวงแคบ ๆ ขยายขอบ เขตออกไปครอบคลุมทั่วโลก และตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ปี 2545-2549 ได้กำหนดให้การบริหารงานภาครัฐเข้าสู่ ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) อีกทั้งแนวคิดในการบริหารจัดการสมัยใหม่ ทั้งการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) การจัดการคุณภาพ (Quality Management) การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) และ การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ทำให้องค์กรและหน่วยงานทั้งหลายต้องปรับท่าที เพื่อความอยู่รอด และมีภูมิคุ้มกันอย่างมั่นคง เพราะองค์กร เป็นสิ่งมีชีวิต (Organic) ไม่ใช่เครื่องจักร (Mechanic) โดยคนเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญ ซึ่งคนก็ไม่ใช่ต้นทุน แต่เป็นทุนมนุษย์ (Human Capital) เพราะในตัวคนมี ทักษะและประสบการณ์ที่ก่อให้ เกิดความชำนาญซึ่งเป็น “ทุนความรู้” (Knowledge Capital) จำเป็นต้องสร้างค่านิยมขององค์การ (Corporate Value) และวัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) ที่ดี ความรู้ภายใต้บริบทเฉพาะมักแฝงอยู่ในภาษา วัฒนธรรม หรือประเพณี นักวิพากษ์ ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม กล่าวว่าการเกิดขึ้นของวัฒนธรรมเดี่ยว ทำให้ความรู้ท้องถิ่นบางอย่างถูกทำลายลง ทำอย่างไรให้ความรู้ในทางปฏิบัติ ซึ่งมักเป็นที่ทราบกันในตัวคนหรือกลุ่มคน ถูกปรับเปลี่ยนและจัดการอย่างเป็นระบบ (Knowledge Management) เพื่อรักษาองค์กรไว้ ซึ่งจะต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ ให้ความรู้ทั้งหลายนั้นกลายเป็นความรู้ที่เกิดประ โยชน์สำหรับคนทั้งองค์กร เพื่อการก้าวเข้าสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เพราะ “ความรู้” คือ “อำนาจ” 2.ความรู้และการจัดการความรู้(1.) ความหมายของความรู้ความรู้ คือ อะไร?คำว่า ความรู้ (Knowledge) นั้น ในทัศนะของฮอสเปอร์ (อ้างถึงในมาโนช เวชพันธ์ 2532, 15-16) นับเป็นขั้นแรกของพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการจดจำ ซึ่งอาจจะโดยการนึกได้ มองเห็นได้ หรือ ได้ฟัง ความรู้นี้ เป็นหนึ่งในขั้นตอนของการเรียนรู้ โดยประกอบไปด้วยคำจำกัดความหรือความหมาย ข้อเท็จจริง ทฤษฎี กฎ โครงสร้าง วิธีการแก้ไขปัญหา และมาตรฐานเป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ความรู้เป็นเรื่องของการจำอะไรได้ ระลึกได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความคิดที่ซับซ้อนหรือใช้ความสามารถของสมองมากนัก ด้วยเหตุนี้ การจำได้จึงถือว่าเป็น กระบวนการที่สำคัญในทางจิตวิทยา และเป็นขั้นตอนที่นำไปสู่พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเข้าใจ การนำความรู้ไปใช้ในการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินผล ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ได้ใช้ความคิดและความ สามารถทางสมองมากขึ้นเป็นลำดับ ส่วนความเข้าใจ (Comprehension) นั้น ฮอสเปอร์ ชี้ให้เห็นว่า เป็นขั้นตอนต่อมาจากความรู้ โดยเป็นขั้นตอนที่จะต้องใช้ความสามารถของสมองและทักษะในชั้นที่สูงขึ้น จนถึงระดับของการสื่อความหมาย ซึ่งอาจเป็นไปได้โดยการใช้ปากเปล่า ข้อเขียน ภาษา หรือการใช้สัญลักษณ์ โดยมักเกิดขึ้นหลังจากที่บุคคลได้รับข่าวสารต่าง ๆ แล้ว อาจจะโดยการฟัง การเห็น การได้ยิน หรือเขียน แล้วแสดงออกมาในรูปของการใช้ทักษะหรือการแปลความหมายต่าง ๆ เช่น การบรรยายข่าวสารที่ได้ยินมาโดยคำพูดของตนเอง หรือการแปลความหมายจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง โดยคงความหมายเดิมเอาไว้ หรืออาจเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือให้ข้อสรุปหรือการคาดคะเนก็ได้
Davenport & Prusak ได้ให้นิยามความรู้ว่า "ความรู้คือส่วนผสมที่เลื่อนไหลของประสบการณ์ที่ได้รับการวางโครงร่าง, เป็นคุณค่าต่างๆ, ข้อมูลในเชิงบริบท, และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ที่ชำนาญการ ซึ่งได้นำเสนอกรอบหรือโครงร่างอันหนึ่งขึ้นมา เพื่อการประเมินและการรวบรวมประสบการณ์และข้อมูลใหม่ ๆ มันให้กำเนิดและถูกประยุกต์ใช้ในใจของบรรดาผู้รู้ทั้งหลาย ในองค์กรต่าง ๆ บ่อยครั้ง มันได้รับการฝังตรึงไม่เพียงอยู่ในเอกสารต่าง ๆ หรือในคลังความรู้เท่านั้น แต่ยังอยู่ในงานประจำ, กระบวนการ, การปฏิบัติ และบรรทัดฐานขององค์กรด้วย"ในหนังสือ “Working Knowledge: How Organization Manage What They Know” โดย ดาเวนพอร์ต ที เอ็ช และ แอล พรูสัก (Davenport, T. H., และ L. Prusak, Boston: Havard Business School Press) อ้างถึงใน องค์กรแห่งความรู้ จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ หน้า 17 ของ รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ ว่า ความรู้ คือ “กรอบของการผสานระหว่างประสบการณ์ ค่านิยม ความรอบรู้ในบริบท และความรู้แจ้งอย่างช่ำชอง ซึ่งจะเป็นกรอบสำหรับประเมินค่า และการนำประสบการณ์สารสนเทศใหม่ ๆ มาผสมรวมด้วยกัน”วิจารณ์ พานิช (2547 : 4-5) ได้ให้ความหมายของความรู้ไว้หลายทัศนะ ดังนี้ ความรู้ คือ สิ่งที่เมื่อนำไปใช้ จะไม่หมดหรือสึกหรอแต่จะยิ่งงอกเงย หรืองอกงามขึ้น กล่าวคือ1) ความรู้ คือ สารสนเทศที่นำไปสู่การปฏิบัติ2) ความรู้เป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้3) ความรู้เกิดขึ้น ณ จุดที่ต้องการใช้ความรู้นั้น4) ความรู้เป็นสิ่งที่ขึ้นกับบริบท และกระตุ้นให้เกิดขึ้นโดยความต้องการเกษม วัฒนชัย (2544 : 39) กล่าวว่า ความรู้ หมายถึง การรวบรวมความคิดของมนุษย์จัดให้เป็นหมวดหมู่และประมวลสาระที่สอดคล้องกัน โดยนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ดังนั้นสิ่งที่เป็นสาระในระบบข้อมูลข่าวสาร คือความรู้ ความรู้ใหม่ต้องสร้างขึ้น บนฐานของความรู้เดิมที่มีอยู่ ความรู้ใหม่จึงเกิดจากฐานการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เซงเก้ (Senge. 1990:3) กล่าวว่า ความรู้ หมายถึง ความสามารถที่นำไปสู่การกระทำที่มีประสิทธิภาพสรุปได้ว่า ความรู้ หมายถึง กรอบของการประสมประสานระหว่างประสบการณ์ค่านิยม ความรอบรู้ในบริบท และความรู้แจ้งอย่างช่ำชอง เป็นการประสมประสานที่ให้กรอบสำหรับการประเมินค่า และการนำเอาประสบการณ์กับสารสนเทศใหม่ ๆ มาผสมรวมเข้าด้วยกัน ให้เกิดขึ้น โดยถูกนำไปประยุกต์ได้ โดยบุคคล อาศัยข้อมูล ทักษะ และประสบการณ์ที่มีอยู่เป็นส่วนสนับสนุนการตัดสินใจไปสู่องค์กร หรือจากองค์กรไปสู่องค์กร(2.) องค์ประกอบของความรู้ ประกอบด้วย1. เป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือ และสามารถเปลี่ยนแปลง2. สามารถตัดสินได้3. เป็นสิ่งที่ได้จากประสบการณ์4. เป็นสิ่งที่มีคุณค่า คาดคะเนได้ และเชื่อถือได้5. เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความคิด ความฉลาด(3) ธรรมชาติและประเภทของความรู้ความรู้มีอยู่ทั่วไปในส่วนที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) และอยู่ภายนอกตัวคน (Explicit Knowledge) ซึ่งได้มีการบันทึกเก็บไว้ในหน่วยบันทึกความรู้รูปแบบบาง ๆ เช่น คู่มือ ตำรา หรือแฝงอยู่ในองค์กร ตัวผลิตภัณฑ์ และกระบวนการทำงานและการเรียนรู้ ซึ่งความรู้เหล่านี้จะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคล สถาบัน และสังคม ในบรรดาปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการพัฒนานั้น ความรู้ทั้งในส่วนที่เป็นของปัจเจกบุคคลและของสถาบัน ถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง การมีการบริหารจัดการความรู้ที่ดีย่อมทำให้บุคคล สถาบัน และสังคม ได้รับประโยชน์จากความรู้อย่างเต็มที่ และในการที่จะบริหารจัดการความรู้ให้มีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้และเข้าใจในธรรมชาติของความรู้

ที่มา : คลังความรู้ พช. สมุทรปราการ
เขียนโดย : กู้เกียรต์ ญาติเสมอ