วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

เทคนิคการเขียนโครงร่างงานวิจัย กศน.อำเภอเมืองนครพนม

เทคนิคการเขียนโครงร่างการวิจัย
1. เทคนิคการกำหนดปัญหาการวิจัย
1. สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงจากการพบกลุ่ม
2. จัดลำดับความสำคัญของสภาพปัญหาที่ครูสามารถแก้ปัญหาได้
3. จากการสำรวจความต้องการในการเรียนรู้ของผู้เรียน
4. ความต้องการพัฒนากระบวนการเรียนรู้การศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐานของครูและผู้เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ
5. ได้รับคำแนะนำจากเพื่อนร่วมงาน
6. ศึกษาจาก Internet และนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่พบในการจัดการเรียนการสอน
7. ปรึกษาผู้รู้ / ผู้ที่เคยมีประสบการณ์ในการทำวิจัยมาก่อน
8. ศึกษาจากตำรางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
9. ศึกษาจากใบความรู้ที่วิทยากรมอบให้
10. จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างเพื่อนครูด้วยกัน
2. เทคนิคการเขียนความสำคัญของปัญหาการวิจัย
1. เขียนจากประสบการณ์จริงที่พบในการจัดกระบวนการเรียนรู้
2. ศึกษาตัวอย่างการเขียนจากงานวิจัยและใบความรู้ที่วิทยากรมอบให้
3. ศึกษางานวิจัยที่มีรูปแบบคล้าย ๆ กับเรื่องที่จะทำและนำมาเป็นต้นแบบในการเขียนความสำคัญของปัญหาการวิจัย
4. จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างเพื่อนครูด้วยกัน
3. เทคนิคการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย
1. กำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาการวิจัยและเขียนให้สามารถวัดได้ และนำไปปฏิบัติได้จริง
2. ศึกษาจากใบความรู้ที่วิทยากรมอบให้
3. จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างเพื่อนครูด้วยกัน
4. เทคนิคการเขียนนิยามศัพท์เฉพาะ
1. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร/พจนานุกรม/ Internet/กำหนดเองจากผู้วิจัย เพื่อสื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตรงกันกับผู้วิจัย
2. นำมาจากหัวข้อการวิจัย
3. เลือกคำสำคัญ ( คำหลัก) ที่อยู่ในงานวิจัยมากำหนดเป็นนิยามศัพท์เฉพาะ
4. ศึกษาจากใบความรู้ที่วิทยากรมอบให้
5. จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างเพื่อนครูด้วยกัน
5. เทคนิคการเขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. การคาดการณ์ล่วงหน้าว่าผลของการศึกษาวิจัยจะเป็นประโยชน์แก่ใคร อย่างไร
2. จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างเพื่อนครูด้วยกัน
6. เทคนิคการเขียนวิธีดำเนินการวิจัย/วิธีดำเนินการแก้ปัญหา
1. ศึกษาการเขียนจากรายงานการวิจัยและใบความรู้ที่วิทยากรมอบให้
2. นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาคันคว้ามาวางแผนเป็นลำดับขั้นตอนในการแก้ปัญหาการวิจัย
3. ศึกษารูปแบบ เครื่องมือ และนวัตกรรมในการแก้ปัญหา / วิธีการแก้ปัญหา และนำมาวางแผนการวิจัย
4. เลือกนวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหา
5. ออกแบบ/สร้าง/ทดลองใช้ และเตรียมนำไปปฏิบัติจริง
6. ศึกษาจากผู้รู้ หรือผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัย / Internet
7. จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างเพื่อนครูด้วยกัน
7. เทคนิคการเขียนแผนการดำเนินงาน
1. กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานการทำวิจัยตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการวิจัย
2. กำหนดกิจกรรม และระยะเวลาในการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกิจกรรม
3. จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างเพื่อนครูด้วยกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น